การสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยวเพื่อกำหนดเส้นทางศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย (INVENTORY OF TOURISM RESOURCE TO DEFINE NATURE LEARNING ROUTES ON PHU PHA MAN NATIONAL PARK, KHONKHEN AND LOEI PROVINCE)

Authors

  • อัญชัญ ตัณฑเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วสินี ไขว้พันธุ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยว จัดประเภททรัพยากรท่องเที่ยว และจัดกลุ่มเส้นทางศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน โดยนำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากโครงการความหลากหลายของเฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์นในอุทยานฯ และข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบฟอร์มการสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยว มาจัดกลุ่มประเภทของแหล่งท่องเที่ยวตามวิธีช่วงชั้นทางนันทนาการ (ROS) และวิเคราะห์เนื้อหาโดยศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ ทั้งภายในและโดยรอบอุทยานแห่งชาติภูผาม่านผลการศึกษาพบว่า อุทยานแห่งชาติภูผาม่านมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่โดดเด่น คือระบบนิเวศป่าดิบแล้ง และมีเฟิร์นหลากหลายชนิดรายล้อมด้วยน้ำตกและถ้ำ ภูมิทัศน์ที่พบมากที่สุด คือภูมิทัศน์แบบโอบล้อมและภูมิทัศน์แบบรายละเอียด ทั้งนี้สามารถแบ่งเส้นทางศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติออกเป็น 5 กลุ่ม การเข้าถึงพื้นที่อุทยานฯ แบ่งเป็น 3 ระดับ ซึ่งให้ประสบการณ์แก่ผู้มาเยือนที่แตกต่างกันประกอบด้วย พื้นที่กึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ พื้นที่ชนบท และพื้นที่กึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ การจัดการสื่อความหมายพบเฉพาะบริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติซำผักหนาม และบริเวณเขตบริการของอุทยานแห่งชาติ ถ้ำลายแทง ถ้ำพญานาคราช และถ้ำค้างคาวคำสำคัญ: ทรัพยากรท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูผาม่านThe main purposes of this study were: 1) to invent tourism resources; and 2) to classify tourism resources and nature learning routes in Phu Pha Man national park. Both primary data from field survey which was based on a tourism resource survey form, and secondary data from a previous completed project-the project of diversity of ferns and fern allies in Phu Pha Man national park, were used to gather data. After that the data were analyzed by a tool of Recreation Opportunity Spectrum (ROS), and contextual analysis to link relationships of land uses within and around the park.The study results were indicated that the Phu Pha Man national park was contained outstanding tourism resources including dry evergreen forest where it was found diversity of ferns, and was surrounded by waterfall and caves. The most found landscape patterns were enclosed landscape and detailed landscape. The nature learning routes were divided into five groups whereas the resource assesses were occurred three levels consisting of semi-primitive motorized (SPM), rural (R), and semi-primitive non-motorized (SPNM). Interpretation management was arranged only at popular visited sites such as Sum PukNum national park office, park service area, Lei Tang cave, PayaNacarat cave, and Kang Kaw cave.Keywords: Tourism Resources, Nature Learning Route, Phu Pha Man National Park

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อัญชัญ ตัณฑเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วสินี ไขว้พันธุ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-01-25

How to Cite

ตัณฑเทศ อ., ไขว้พันธุ์ ว., & ศิลป์ประสิทธิ์ ก. (2017). การสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยวเพื่อกำหนดเส้นทางศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย (INVENTORY OF TOURISM RESOURCE TO DEFINE NATURE LEARNING ROUTES ON PHU PHA MAN NATIONAL PARK, KHONKHEN AND LOEI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(16, July-December), 66–77. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/8369