ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายกับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

Authors

  • สุรางค์ สุขรอด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการเกินระดับต่างๆ ของนักเรียนในแต่ละระดับชั้นเรียนจำแนกตามกลุ่มเพศชายและเพศหญิง และเพื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายระหว่างนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายต่างกัน ศึกษาในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยจำแนกตามตัวแปรเพศและระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 600 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 300 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 300 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาหาร และแบบบันทึกการสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานใช้สถิติ t-test for independent samplesผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. จากการศึกษาภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนทุกระดับชั้นเรียนร้อยละ 55 มีภาวะโภชนาการไม่ปกติคือ ร้อยละ 30 เป็นคนผอม และพบผลชัดเจนในกลุ่มนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ที่มีนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 40 เป็นคนผอม แต่พบผลตรงข้ามในกลุ่มนักเรียนชายคือพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 60 มีภาวะโภชนาการไม่ปกติคือร้อยละ 50 เป็นคนอ้วน และพบผลในลักษณะเช่นเดียวกันในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-4 ที่เป็นคนอ้วน แต่มีปริมาณน้อยกว่าคือร้อยละ 302. เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ภาวะโภชนาการเกินระหว่างนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายต่างกันโดยศึกษาทั้งนักเรียนกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย จำแนกตามตัวแปรเพศและระดับชั้นเรียน ปรากฏว่าพบความแตกต่างของค่าดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่า นักเรียนที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายมากมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่านักเรียนที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อย และในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารน้อยมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่านักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารมากคำสำคัญ: ความรู้เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการเกินThis research aimed to study the number and percentage of the students who were obese in each grade level classified by gender and to compare body mass index among the students with varied level of knowledge concerning nutrition, food consumption and exercise habits both in all and sub-groups classified grade level and gender. The sample groups consisted of 300 junior and 300 senior high school students in the academic year 2009 from Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary). The tools employed to collect data were questionnaires to elicit information on food consumption and exercise habits, tests on knowledge of nutrition and interview record forms on food consumption and exercise habits. Percentage, mean, standard deviation and t-test for independent samples were used to analyse the data.The findings were as follows:1. Concerning students’ weight, overall 55% of the students were malnourished and 30% of them were emaciated. 40% of Mattayomsuksa 1-4 female students were emaciated while 50% of Mattayomsuksa 6 and 30% of Mattayomsuksa 2-4 male students were obese. It was also found that 60% of Mattayomsuksa 6 male students were malnourished.2. The body mass index of Mattayomsuksa 4 students who took a lot of exercise was significantly higher than those who rarely took exercise. Mattayomsuksa 6 students who rarely had knowledge of nutrition had a higher body mass index than those who had knowledge of nutrition.Keywords: Food Knowledge, Food Consumption, Exercise Habits, Obesity

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สุรางค์ สุขรอด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  

Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

สุขรอด ส. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายกับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(13, January-June), 200–210. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7408