การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวตามทัศนะของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (A CONFIRMATORY FACTOR ANALYSIS OF FAMILY SOLIDARITY IN THE OPINIONS OF THAI TEENAGERS IN BANGKOK)

Authors

  • วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบโมเดลความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวตามทัศนะของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวที่ศึกษาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ที่นำมาจากแนวคิดของ Bengtson และ Schradar (1982) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,058 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบวัดความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นแรกเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ในขั้นที่สองเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวตามทัศนะของวัยรุ่นประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำกิจกรรมร่วมกัน ความรู้สึกผูกพันทางอารมณ์ต่อกัน ความสมานฉันท์ และการมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกัน ทั้ง 4 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรผันที่เกิดขึ้นในความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวได้ร้อยละ 54 โดยความสมานฉันท์ เป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด จากผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติต่างๆ พบว่า โมเดลความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวตามกรอบแนวคิดการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์คำสำคัญ: ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว วัยรุ่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันThis study aims to analyze a model of family solidarity in the opinions of Thai teenagers. Model of family solidarity was developed and validated, based on the concept of Bengtson and Schradar (1982). The samples consisted of 1058 Mattayom Suksa 3 (M3) students in schools under the jurisdiction of the Commission for Basic Education in Bangkok area. Data were collected by questionnaires with family solidarity scale. Analyzed data by Exploratory Factor Analysis using statistical package program SPSS to extract the components of family solidarity. The model was validated by Second Order Confirmatory Factor Analysis using LISREL program. The results indicated that family solidarity in the opinions of Thai teenagers consisted of four components: association, affection, consensus, and concerning. The four components accounted for 54% of explained variation in family solidarity. Consensus component had the strongest loading on family solidarity. The statistical test indicated that family solidarity model were congruent with the empirical data.Keywords: Family Solidarity, Teenager, Exploratory Factor Analysis, Confirmatory Factor Analysis

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 

Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

เสรีตระกูล ว. (2015). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวตามทัศนะของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (A CONFIRMATORY FACTOR ANALYSIS OF FAMILY SOLIDARITY IN THE OPINIONS OF THAI TEENAGERS IN BANGKOK). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(13, January-June), 153–164. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7404