การพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา (THE MARKETING DEVELOPMENT OF THE CLOTH WOVEN PRODUCTS IN KRSAESIN, SONGKHLA PROVINCE)

Authors

  • อันธิกา ทิพย์จำนงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา Rajamangala University of Technology Srivijaya Songkhla.

Abstract

การศึกษาเรื่องการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอกระแสสินธุ์และศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผ้าทอพื้นเมือง รวมถึงการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกระแสสินธุ์ โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ผลิตผ้าทอกระแสสินธุ์ จำนวน 22 ราย และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง จำนวน 200 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน คือ ค่าไคว์สแคร์ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทอผ้ากระแสสินธุ์ มีสมาชิก จำนวน 22 คน มีกี่มือ จำนวน 18 ตัว ใช้ฝ้ายและเส้นใยประดิษฐ์เป็นวัตถุดิบหลัก ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบด้วย ผ้าทอลายผกากรอง ลายสายฝน ลายกำแพงแก้วลายพวงชมพู ลายดอกพิกุล ลายบานไม่รู้โรย ลายลูกเต๋า ลายลูกแก้ว และผ้าทอลายยกดอก เป็นต้น ลายผ้าที่ทอในปัจจุบันเป็นลายประยุกต์มากกว่าลายดั้งเดิมจุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือ มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เนื้อผ้าแน่นแต่ไม่หนา การผลิตของกลุ่มเป็นการผลิตเพื่อประกอบอาชีพและหารายได้เสริมโดยใช้ความเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นจุดขายที่สำคัญมี 2 ลักษณะ คือ 1) การผลิตเพื่อวางจำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่ม การฝากขายตามแหล่งต่างๆ และการจำหน่ายตามงานแสดงสินค้า 2) การผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การกำหนดราคาขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลายผ้า ลูกค้าหลักคือบุคลากรในหน่วยงานราชการและเอกชนในพื้นที่ ปัญหาที่พบของกลุ่มผ้าทอกระแสสินธุ์ คือเส้นใยขาดแคลนและมีต้นทุนสูง ลูกค้าในพื้นที่เริ่มอิ่มตัว ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคผ้าทอพื้นเมืองพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมืองระดับมากคือ ความคงทนในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.05 รองลงมาคือ ความประณีตสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.02 แหล่งผลิตเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมีค่าเฉลี่ย 4.00 แนวทางการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอคือ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบความแตกต่างซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้เห็นความสำคัญการใช้ผ้าทอพื้นเมืองในชีวิตประจำวันและในโอกาสต่างๆ เพื่อขยายตลาดผ้าทอพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้นคำสำคัญ: การตลาด  พฤติกรรมผู้บริโภค  ผ้าทอพื้นเมืองThis research study aimed to investigate the production process and the market target of Kraseasin’s woven cloths including the customers’ behaviors towards the local woven products. The suggestions of a better process of production were recommended in this study. This survey research was conducted by using a questionnaire and interview, which were considered as the practical instruments to collect the data. The 22 Kaseasin cloth weavers and 200 consumers were subjects by using a purposive sampling. Percentages, means and standard deviation were used to analize data. The statistic used in this study was Chi-sqaure.The findings revealed that only 22 local woven members owned their 18 manual weavers in producing the raw materials like cotton or fiber. The main products were floweral woven cloths e.g puang chompoo, pikul , pakakrong and ban mai roo roiy, and the others were rainy, glass wall, dice glass ball and yok dok etc. At the present, all local woven products were applied to be modernized but the strong point of those products were keeping the quality standard and firming textures, not thickness. The main objective of producing these local woven products was to earn and increase their extra incomes. Moreover, there were two dominant sales; firstly, the producers sold their own products by themselves in their community and malls; and secondly, they would weave their products by customers’ orders. The prices’ allocation was on the difficulties in producing process. The government officers and non-government officers in local were normally customers. However the drawback of producing this local product was lack of raw material and this brought about the higher investment. The community’s customers were now lack of interesting in wearing these local products even though they contained their quality standard. The customers’ satisfaction was at 4.05, 4.02 for neatness, and 4.00 for products’ fame respectively. Suggestion was a designing pattern of products had to be matched to the customers’ needs. The implication of the marketing development for local cloth woven could be a variety of product patterns responding to the new customer needs which put their appreciation on the creative differences and also a campaign for dressing the local cloth woven occasionally in everyday life. This induces the marketing expansion finally.Keywords: Marketing, Consumer Behavior, Local Cloth Woven Product

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

อันธิกา ทิพย์จำนงค์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา Rajamangala University of Technology Srivijaya Songkhla.

สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลาDepartment of Marketing, Faculty of Business Administration,Rajamangala University of Technology Srivijaya Songkhla.

Downloads

Published

2015-02-04

How to Cite

ทิพย์จำนงค์ อ. (2015). การพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา (THE MARKETING DEVELOPMENT OF THE CLOTH WOVEN PRODUCTS IN KRSAESIN, SONGKHLA PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(12, July-December), 161–173. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/5048