การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

Authors

  • นาตยา ช่วยชูเชิด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังทดลอง ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังทดลอง ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 47 คน ดำเนินการทดลองโดยมีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test)ผลการวิจัย พบว่า1. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า    ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.012. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาThe purposes of this research were to: 1) compare the learning achievements in science of Matthayom Suksa 2 Students  before and after with the use of science activity packages; and 2) compare the solving-problem ability in science of Matthayom Suksa 2 Students before and after with the use of science activity packages.The samples used in this research were 47 Matthayomsuksa 2 students at Srinakharinwirot Prasarnmit Demonstration School (Secondary), of the 2009 academic year. The One Group pretest-posttest design was uttized. The research instrument consisted of the science activity packages, achievements in science test, solving-problem ability test. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation and t-test.The research results found that:1. The post-learning achievements in science of students with the use of science activity packages were significantly higher than pre-learning at the 0.01 level.2. The post-learning solving-problem ability in science of students with the use of science activity packages were significantly higher than pre-learning at the 0.01 level.Keywords: Science Activity Packages, Achievements, Problem Solving Ability

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

นาตยา ช่วยชูเชิด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒSrinakharinwirot Prasarnmit Demonstration School (Secondary), Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2015-02-04

How to Cite

ช่วยชูเชิด น. (2015). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(12, July-December), 87–94. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/5042