การศึกษาปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (EPTS) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงระบบที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการ EPTS หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ EPTS และศึกษาประสิทธิผลของโครงการ EPTS กลุ่มที่ศึกษาเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ EPTS ในปีการศึกษา 2552 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน รวมทั้งศิษย์เก่าที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 ถึง 2551 รวมจำนวนทั้งสิ้น 670 คน การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ EPTS จำนวน 12 ตัวแปร คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ 1) ความพร้อมทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง 2) ค่านิยมทางสังคม และ 3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1) นโยบายของโครงการ 2) คุณภาพผู้บริหาร 3) คุณภาพครู 4) คุณภาพนักเรียน และ 5) ความพร้อมของสื่อวัสดุอุปกรณ์ กระบวนการ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการด้านวิชาการ 2) การบริหารจัดการด้านงบประมาณ 3) การบริหารจัดการด้านการเชื่อมโยง 4) การบริหารจัดการด้านบุคลากร และศึกษาประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้านความเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ด้วยเครื่องมือจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบตัวแปรตามหลายตัว รวมทั้งศึกษาประสิทธิผลของโครงการ EPTS จากรายงานผลคะแนนของนักเรียน ได้แก่ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-SSEPT และ CU-TEP และคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตลอดจนศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารรายงานของโครงการ EPTS ด้วยวิธีสังเคราะห์ข้อความและการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของโครงการ EPTS ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงการ EPTS มีปัจจัยเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทั้ง 12 ตัวแปร โดยทุกตัวแปรมีผลการดำเนินงานตรงกับสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละตัวแปร พบว่า ทุกข้อของตัวแปรด้านความพร้อมทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นโยบายของโครงการ EPTS คุณภาพผู้บริหาร คุณภาพนักเรียน ความพร้อมของสื่อวัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ และการบริหารจัดการด้านบุคลากร การดำเนินงานของโครงการ EPTS ตรงกับสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านค่านิยมทางสังคม ได้แก่ มีความรู้สึกที่ดีต่อโครงการ EPTS (X = 4.25) เห็นคุณค่าและความสำคัญของการจัดการศึกษาภาคภาษาอังกฤษ (X = 4.34) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพครู ได้แก่ ครูชาวต่างประเทศเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี (X = 4.23) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการบริหารจัดการด้านการเชื่อมโยง ได้แก่ นักเรียนโครงการ EPTS มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนภาคปกติ (X = 3.34) อยู่ในระดับปานกลาง2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงระบบกับประสิทธิผลของโครงการ EPTS พบว่าตัวแปรปัจจัยเชิงระบบทั้ง 12 ตัวแปร และประสิทธิผลของโครงการ EPTS ทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Wilk’s Lambda = 0.95) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบตัวแปรตามเอกนาม ระหว่างปัจจัยเชิงระบบกับประสิทธิผลของโครงการ EPTS แต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นกัน (R มีค่าตั้งแต่ 0.63 ถึง 0.74) เมื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ EPTS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และที่ระดับ 0.05 พบว่า มีจำนวน 8 ตัวแปร คือ ค่านิยมทางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คุณภาพนักเรียน ความพร้อมของสื่อวัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ การบริหารจัดการด้านการเชื่อมโยง และการบริหารจัดการด้านบุคลากร 3. ประสิทธิผลของโครงการ EPTS สรุปได้ดังนี้เมื่อพิจารณาประสิทธิผลของโครงการ EPTS เป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลสำเร็จระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้าน พบว่า เกือบทุกด้านมีผลสำเร็จระดับมาก โดยด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนมีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ (X = 4.35) นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี รักการออกกำลังกาย ปลอดสิ่งเสพติด (X = 4.20) มีผลสำเร็จระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายละเอียดของประสิทธิผลของโครงการ EPTS เป็นรายด้าน พบว่า3.1 ประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้านความเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มีผลสำเร็จในระดับมาก (X = 3.89) โดยพบว่า โครงการ EPTS เป็นแบบอย่างของการจัดการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ (X = 4.12) และมีการจัดสภาพห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งสาธิตการสอนของครูชาวต่างประเทศ และเป็นแบบอย่างของการจัดการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษให้แก่หน่วยงานทั่วไป ในปีการศึกษา 2552 มีผู้มาเยี่ยมชมโครงการ EPTS รวม 15 หน่วยงาน มีโครงการ และกิจกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนด้านความเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง 2552 จำนวน 14 รายการ คิดเป็นร้อยละ 25.933.2 ประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีผลสำเร็จในระดับมาก (X = 3.92) โดยพบว่า นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ (X = 4.07) และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 2.5 ขึ้นไป ร้อยละ 94.23 อยู่ในเกณฑ์การประเมินของ สมศ. ระดับดีมากและระดับผลการเรียนต่ำกว่า 2.5 ร้อยละ 5.77 ศิษย์เก่ามีผลการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 ถึง 2551 ร้อยละ 99.17 จากทุกแผนการเรียน ศิษย์เก่าส่วนใหญ่ศึกษาต่อภาคภาษาอังกฤษภายในประเทศ ร้อยละ 44.72 รองลงมาศึกษาต่อภาคปกติภายในประเทศ ร้อยละ 43.90 และศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 11.38 อีกทั้งนักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการได้รับรางวัลหลายรายการ มีโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง 2552 จำนวน 10 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.523.3 ประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียน มีผลสำเร็จในระดับมาก (X = 3.96) โดยพบว่า คือนักเรียนมีความสามารถในการฟัง และเข้าใจภาษาอังกฤษได้ (X = 4.09) และจากผลการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบ CU-SSEPT และ CU-TEP ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับดีเยี่ยม ดีมาก และดี ร้อยละ 68.71 ระดับพอใช้ ร้อยละ 15.17 ระดับยังต้องปรับปรุง และระดับอ่อน ร้อยละ 16.12 ของจำนวนนักเรียนที่เข้าทดสอบ อีกทั้งนักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษได้รับรางวัลหลายรายการ มีโครงการ และกิจกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง 2552 จำนวน 8 รายการ คิดเป็นร้อยละ 14.813.4 ประสิทธิผลของโครงการ EPTS ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีผลสำเร็จในระดับมาก (X = 3.95) โดยพบว่า คือ นักเรียนมีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ (X = 4.35) และจากผลการประเมินคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพดีมากร้อยละ 69.56 รองลงมาอยู่ในระดับคุณภาพดี ร้อยละ 30.44 และไม่มีนักเรียนที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุง อีกทั้งนักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันความสามารถพิเศษเฉพาะทางตามศักยภาพ หรือได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลหลายรายการ มีโครงการ และกิจกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง 2552 จำนวน 15 รายการ คิดเป็นร้อยละ 27.78การจัดกลุ่มสนทนาประสิทธิผลของโครงการ EPTS พบว่า โครงการ EPTS มีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค สรุปได้ดังนี้ 1) จุดแข็ง ได้แก่ นักเรียนมีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ และด้านทักษะภาษาอังกฤษสู่สากล นักเรียนมีโอกาสทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบมาตรฐาน นักเรียนประสบผลสำเร็จในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา มีการคัดเลือกครูชาวต่างประเทศที่มีคุณภาพ และเป็นเจ้าของภาษา บุคลากรมีความสามัคคี ครูดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด มีสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยประจำห้องเรียน ผู้ปกครองมีความพร้อมในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ EPTS 2) จุดอ่อน ได้แก่ นักเรียนอ่อนทางด้านไวยากรณ์ นักเรียนพูดเป็นภาษาไทยขณะเรียนในห้องเรียน ขาดเจ้าหน้าที่ดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ นักเรียนมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรมลดลง 3) โอกาส ได้แก่ โครงการ EPTS ควรมีโครงการความร่วมมือระหว่างโครงการ EPTS กับสถานศึกษาอื่น เพิ่มการเรียนภาคภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับการเปิดสอนภาคภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณภาพและความสามารถเต็มตามศักยภาพของตนเอง ควรให้ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาเล่าประสบการณ์ให้แก่รุ่นน้องและผู้ปกครองฟัง 4) อุปสรรค ได้แก่ บางรายวิชายังไม่ครอบคลุมเนื้อหาตามหลักสูตรของโรงเรียน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยังไม่ชัดเจน นโยบายการตรวจคนเข้าเมืองและการเข้ามาทำงานในประเทศไทยมีผลกระทบต่อครูชาวต่างประเทศ บางกิจกรรมที่เร่งด่วนมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนคำสำคัญ: ปัจจัยเชิงระบบ ประสิทธิผลของโครงการ โครงการนักเรียนที่มีความสามารถภาคภาษาอังกฤษThis research aimed to study the system factors and additionally to find their beta weight as it related to and affected to the effectiveness of the EPTS program, plus to study the program’s effectiveness. The study targeted persons related to the program including EPTS, administrators, teachers, parents, students in the academic year 2009, and alumni (M.6 graduates) from the classes of 2002 through 2008, a total of 670 people. This research studied the system factors related to 12 variables of operating the EPTS program including Environment were the economics of the parents, social trends, the availability of advanced technologies. Input were EPTS Program policy, administrator, teacher and student quality, availability of media equipment. Process were academic management, budget management, program integrated management, and personnel management. The research also utilized a questionnaire as a tool to study the effectiveness of the EPTS program based on 4 variables as follows; as a model for an English program, academic achievement of the students, English language ability of the students, and desirable characteristics of the students. Multiple Regression Analysis of multiple variables was used to analyze the system factors beta weight; and scores of student learning achievement, scores of English proficiency measured by CU-TEP and CU-SSEPT, and scores of students desirable characteristics were analyzed to study the effectiveness of the program. Apart from that, related EPTS Program documents were synthesized as well as Focus Group discussions were held to analyze the Strengths, the Weaknesses, the Opportunities and the Threats of the EPTS program.Study Results1. From analysis of the 12 variables of system factors, the overall opinion from the questionnaire participants was that the EPTS Program has been operating at a high level. Considering of each individual factor, it was found that the operation of the EPTS Program performed at a high level in the economics of the parents, the availability of advanced technologies, EPTS Program policy, administrator and student quality, availability of media equipment, academics management, budget management, and personnel management. While the operation of the program performed at the highest level in social trends of the EPTS Program with a mean of 4.25, the importance of the English Program with a mean of 4.34, and the foreign teachers are knowledgeable with good English skills with a mean of 4.23. In addition, the program integrated management on EPTS students having opportunities to participate the activities with regular program students performed at an average level with a mean of 3.34.2. As for the relationship between system factors and EPTS Program effectiveness, it was found that the 12 system factor variables and the 4 EPTS program effectiveness variables were related at a significance 0.01 level, Wilk’s Lambda = 0.95; And the multiple correlation coefficients on multivariate and univariate dependent variables between the system factors and each variable of EPTS program effectiveness was related at significance 0.01 level, R was between 0.63-0.74.To find the Beta weight of which affected the effectiveness of the EPTS Program at significance 0.01 and 0.05 found that there were 8 variables as follows: social trends, availability of advanced technologies, student quality, availability of media equipment, academics management, budget management, program integrated management, and personnel management.3. Summary of the effectiveness of the EPTS programAll factors successfully affect the effectiveness of the EPTS program at a high level, as well as almost all items of each factor particularly student desirable characteristics was at the highest level on the following items: students have healthy mind and human relations with a mean of 4.35, and students have healthy habits, enjoy exercising and are drug free with a mean of 4.20. Considering the details of each factor the research, it was found as follows:3.1 The effectiveness of the EPTS program on “as a model for an English program” was successful at a high level with a mean of 3.89, The highest item was the EPTS program as a model for an English program with a mean of 4.12, and a Learning-Classroom Atmosphere of the EPTS program as a place for foreign teachers to demonstrate their instruction skills to visitors from external organizations. In academic year 2009, 15 organizations visited the EPTS program. In addition, during academic year 2007-2009, 14 projects or activities, represented at 25.93%, were conducted to encourage and support the factor of “as a model for an English program”.3.2 The effectiveness of the EPTS program on “Academic achievement of student” was successful at a high level with a mean of 3.92. The highest item was students have an ability to communicate in both Thai and English with a mean of 4.07, and it was found that student achievement scores of GPA 2.50 and higher were at 94.23% (the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA) assessment criteria, considered a “very good” level) and the lower than GPA 2.50 were at 5.77%. During the academic year 2002-2008, 99.17% of the EPTS alumni continued to study in tertiary institutions with 44.72% studied in the country for English-language programs and 43.90% studied in a regular Thai program, and 11.38% went abroad; additionally students had an opportunity to participate in competitions and obtain many awards. During academic year 2007-2009, 10 projects or activities, represented at 18.52%, were conducted to encourage and support the factor of “Academic achievement of student”.3.3 The effectiveness of the EPTS program on “Student English proficiency” was successful at a high level with a mean of 3.96. The highest item was the ability of students to listen and understand English with a mean of 4.09.Via Chulalongkorn University English standardized test,CU-SSEPTand CU-TEP, the result of students’ English proficiency ability levels of “best,” “better,” and “good” were represented at 68.71% and the “average” was represented at 15.17%, the “improvement” and the “weak” were represented at 9.48% of the number of students who attended the test. During academic year 2007-2009, 8 projects or activities, represented at 14.81%, were conducted to encourage and support the factor of “Student English proficiency”.3.4 The effectiveness of the EPTS program on “Students desirable characteristics” was successful at a high level with a mean of 3.95. The highest item was students having a healthy mind and good human relations with a mean of 4.35. The evaluation of students’ expected characteristics, most were very good quality at 69.56%, followed by a level of good quality at 30.44%, and there were no improvement levels. During academic year 2007-2009, 15 projects or activities, represented at 27.78%, were conducted to encourage and support the factor of “Students desirable characteristics”.The focus group discussion of the effectiveness of the EPTS program, the Strengths, Weaknesses, Opportunities and Threats Analysis were summarized as follows: 1) Strengths: Students academic and English skill abilities were considered as world class; Students had opportunities to test their English proficiency via standardized tests; Students continued to study in tertiary institutions; Selecting qualified teachers who are native English speakers; The personnel work well together with unity; Students were looked after closely; The availability of cutting-edge technology and teaching media; and Parents who are eager and ready to support the operation of the program. 2) Weaknesses: Some students are still weak in grammar; Students speak too much Thai in the classroom; Shortage of maintenance staff to repair various multimedia devices promptly; Students discipline and moral value have decreased. 3) Opportunities: Providing a collaborative program between EPTS and other institutes; The English programs at university-level are increasing; To fulfil students quality and potential; The EPTS alumni should be invited as guest speakers to share their experiences with students and parents. 4) Threats: Instruction on some topics do not cover content that corresponds to the curriculum in all respects; The rules relating to teaching and learning change frequently; Policies related to immigration and to employment in Thailand that effect foreign teachers; and The unexpected and urgent extracurricular that affect planed lessons.Keywords: The system factors, The effectiveness of the EPTS program, The EPTS programDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2013-10-22
How to Cite
Leelajaruskul, C., Keowkiri, T., Chongthanakorn, D., Rasmimariya, K., Rungsrimongkol, S., Srikham, C., Onkaewmanee, T., Prangkatoke, N., & Kowin, K. (2013). การศึกษาปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (EPTS) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(10, July-December), 34–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/3517
Issue
Section
บทความวิจัย