การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS

Authors

  • Chiranan Phunsawat Srinakharinwirot University.
  • Daranee Saksiriphol Srinakharinwirot University.
  • Paitoon Pothisaan Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง มีระดับการได้ยินตั้งแต่ 26-89 เดซิเบล สามารถอ่านออกเสียงเป็นคำ อ่านริมฝีปากของครูได้ และไม่มีความพิการอื่นๆ แทรกซ้อน กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 5 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS และแบบทดสอบความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ The Sign Test for Median: One Sample และ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Testผลการวิจัยพบว่า1. ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง หลังการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS อยู่ในระดับดี2. ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง หลังการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS สูงขึ้นคำสำคัญ: อ่านจับใจความ การสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUSThis research aimed to study the reading comprehension ability of the students with hearing impairment in Grade 5 through KWL-PLUS reading strategy. The subjects in this study were 5 students with a hearing loss between 26-89 dB. They were able to read words, lip read and did not exhibit other disabilities, The students were enrolled in Grade 5, Kanjanapisakesompoch School, of the first semester of 2010 academic year, and were chosen by purposive sampling. The duration of the intervention was 6 weeks with 60 minutes for 4 day a week totalling to 24 sessions. The instruments in this research were the KWL-PLUS reading strategy lesson plans, and the achievement test of the ability in reading comprehension for students with hearing impairment in Grade 5. The data were statistically analyzed by using Median, Interquartile Range, The Sign Test for Median: One Sample, The Wilcoxon Matched-Pairs Singed-Ranks Test.The results of the research revealed that:1. The ability in reading comprehension of students with hearing impairment in Grade 5 through KWL-PLUS reading strategy was in good level.2. The ability in reading comprehension of students with hearing impairment in Grade 5 through KWL-PLUS reading strategy was in higher level.Keywords: Reading comprehension, KWL-PLUS Reading Strategy

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Chiranan Phunsawat, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ (ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Daranee Saksiriphol, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Paitoon Pothisaan, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2013-10-22

How to Cite

Phunsawat, C., Saksiriphol, D., & Pothisaan, P. (2013). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL–PLUS. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(10, July-December), 24–33. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/3516