การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามความคิดเห็นของนิสิต
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุน จำแนกตามเพศ ชั้นปีที่ศึกษา สถานภาพในการเรียนภาษาจีน และพื้นฐานทางการศึกษาก่อนเข้าเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 161 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 79 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า1. นิสิตมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมว่าเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนเหมาะสมในระดับปานกลาง2. นิสิตชายและนิสิตหญิงมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน โดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน3. นิสิตที่ศึกษาในชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน โดยรวมและในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการวัดและประเมินผลที่ไม่แตกต่างกัน4. นิสิตที่ศึกษาภาษาจีนเป็นวิชาเอกและวิชาโทมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน โดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน5. นิสิตที่มีพื้นฐานทางการศึกษาก่อนเข้าเรียนต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน โดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกันคำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ความคิดเห็นของนิสิตThe purposes of this study were to investigate and to compare instructional management in Bachelor of Arts Program in Chinese, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University as perceived by students in 5 aspects: curriculum, instructor, learning and teaching process, measurement and evaluation, and supporting factor in overall and each aspect classified by gender, class level, educational status, and educational background. The samples were 161 undergraduate students of Chinese program in the academic year of 2011. The instrument used in the study was a five- point rating scale questionnaire of 79 items with the reliability of 0.97. Data were analyzed by mean, standard deviation, a t-test, one way analysis of variance and Scheffe’ method.The results revealed that:1. The students rated instructional management in Bachelor of Arts Program in Chinese, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University in overall at a high level. When considered in each aspect, it was found that the aspects of instructor, learning and teaching process, and measurement and evaluation were at a high level whereas supporting factor was at a moderate level.2. There was no significant difference between the opinions of male and female students toward the instructional management in overall and each aspect.3. There was a significant difference among the opinions of students with different year of study on instructional management in overall and each aspect, except the aspect of measurement and evaluation.4. There was no significant difference between the opinions of students majoring Chinese and the ones minoring Chinese toward the instructional management in overall and each aspect.5. There was no significant difference among the opinions of students with different educational background toward the instructional management in overall and each aspect.Keywords: Instructional Management, Bachelor of Arts Program in Chinese, Perceived by studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2013-10-21
How to Cite
Javisoot, N., Wattananarong, A., & Tungsomworapongs, S. (2013). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามความคิดเห็นของนิสิต. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(9, January-June), 67–80. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/3507
Issue
Section
บทความวิจัย