ปัจจัยและพฤติกรรมการบูชาพระพิฆเนศวรของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (FACTORS AND BEHAVIOR OF SILPAKORN UNIVERSITY PHETCHBURI IT CAMPUS’S STUDENTS TO WORSHIP TO GANESHA)

Authors

  • ประสพชัย พสุนนท์ Silpakorn University.
  • กานติมา วิริยวุฒิไกร Silpakorn University.

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบูชาพระพิฆเนศวร 2) วิเคราะห์ปัจจัยการบูชาพระพิฆเนศวร และ 3) เพื่อจัดกลุ่มผู้บูชาพระพิฆเนศวรตามปัจจัยของการบูชาพระพิฆเนศวร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-20 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่พัฒนาข้อคำถามตามกรอบส่วนประสมทางการตลาดบริการ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยใช้วิธีวิเคราะห์ปัจจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนปัจจัยด้วยวิธี Varimax ในส่วนการจัดกลุ่มผู้บูชาใช้การวิเคราะห์กลุ่มด้วยเทคนิคการวิเคราะห์กลุ่มแบบ K-Means ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านพฤติกรรมผู้บูชาพระพิฆเนศวรมีวัตถุประสงค์ในการบูชาพระพิฆเนศวรเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต โดยบูชาพระพิฆเนศวรเดือนละครั้ง สิ่งที่นำมาบูชาพระพิฆเนศวรส่วนใหญ่คือ ดอกไม้/พวงมาลัย (79.25%) และผู้บูชาเคยบนบาลกับพระพิฆเนศวร และได้บนบาลและขอพรจากพระพิฆเนศวรเรื่องการเรียนมากที่สุด (96.50%) สิ่งที่นำมาแก้บนคือ ถวายดอกไม้/พวงมาลัย โดยได้รับอิทธิพลการบูชาพระพิฆเนศวรจากสถาบัน (59.25%) และมีความเชื่อว่าพระพิฆเนศวรเป็นเทพแห่งความสำเร็จ (76.75%) 2) ปัจจัยการบูชาพระพิฆเนศวรมี 5 ด้าน คือ ด้านความศักดิ์สิทธิ์ (Eigenvalues = 5.250, Variance = 13.012%) ด้านความเชื่อ (Eigenvalues = 5.010, Variance = 12.525%) ด้านความนิยมของผู้บูชา (Eigenvalues = 3.438, Variance = 8.596%) ด้านพิธีกรรม (Eigenvalues = 2.952, Variance = 7.830%) และด้านสภาพแวดล้อม (Eigenvalues = 2.064, Variance = 5.160%) และ 3) การจัดกลุ่มผู้บูชาที่บูชาพระพิฆเนศวร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้บูชาที่นิยมพิธีกรรม (41.50%) และ 2) กลุ่มผู้บูชาที่ศรัทธาในพระพิฆเนศวร (58.50%)คำสำคัญ: พระพิฆเนศวร พฤติกรรม การวิเคราะห์ปัจจัย การจัดกลุ่มThe objective of this research was 1) to investigate the behavior of students to worship Ganesha, 2) to analyze the worship factor to Ganesha, and 3) to categorize the group of people who worship Ganesha by sacred factor. The study group consists of 400 samples from University of Silpakorn IT’s students. Data collection was completed through questionnaire distributed by stratified random sampling during Jun 1-20, 2010. The questionnaire was developed based on service marketing mix (7P’s). For finding factor, we used Principal Component Analysis method and Orthogonal Rotation by varimax Method and clustered adorer worship group by K-means technique Analysis. The study found that 1) The behavior of adorer who worship once a month for the purpose of the prosperity of life. The sacred objects for Ganesha were flower/garland (79.25%) and also found that adorer had vowed and prayed to Ganesha in education issue (96.50%). They believed Ganesha was Thep success (76.75%). 2) There are 5 factors of holiness (Eigenvalues = 5.250, Variance = 13.012%), the belief (Eigenvalues = 5.010, Variance = 12.525%), popularity of adorer (Eigenvalues = 3.438, Variance = 8.596%), the rite (Eigenvalues = 2.952, Variance = 7.830%) and environmental (Eigenvalues = 2.064 Variance = 5.160%). 3) There were divided into 2 groups of adorer: 1) people worship to as a ceremony (41.50%) and 2) Adores who respect to Ganesha (58.50%).Keywords: Ganesha, Behavior, Factor Analysis, Clustering 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ประสพชัย พสุนนท์, Silpakorn University.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กานติมา วิริยวุฒิไกร, Silpakorn University.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Downloads

Published

2011-12-16

How to Cite

พสุนนท์ ป., & วิริยวุฒิไกร ก. (2011). ปัจจัยและพฤติกรรมการบูชาพระพิฆเนศวรของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (FACTORS AND BEHAVIOR OF SILPAKORN UNIVERSITY PHETCHBURI IT CAMPUS’S STUDENTS TO WORSHIP TO GANESHA). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(6, July-December), 27–38. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/1832