กระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ของ “อาทิวราห์ คงมาลัย” ในการวิ่งมาราธอนเพื่อช่วยเหลือสังคม (THE PROCESS OF THE ACCUMULATION, TRANSFORMATION, AND EXTENSION OF CAPITAL FOR SOCIAL DEVELOPEMENT: CASE STUDY ARTIWARA KONGMALAI)

Authors

  • อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ของดารานักวิ่งมาราธอนไทย โดยเลือกศึกษาแบบเจาะจง จากการใช้เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อให้ได้ดารานักวิ่งมาราธอนที่ตรงกับเกณฑ์มาศึกษา ได้แก่ อาทิวราห์ คงมาลัย รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบสื่อดั้งเดิม สื่อเฉพาะกิจ (สื่อกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้น ได้แก่ อีเวนต์) สื่อเว็บไซต์ สื่อออนไลน์ส่วนบุคคลของดารานักวิ่งมาราธอน และการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ แบ่งช่วงการศึกษา ทั้งหมด 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงที่ 1 ภูมิหลังของดารานักวิ่งมาราธอน (Historical Background) ช่วงที่ 2 ช่วงเวลาที่อยู่ในแวดวงบันเทิง (Entry Entertainment Industry) ช่วงที่ 3 ช่วงเวลาการเป็นดารานักวิ่งมาราธอน (Entry Sport-Entertainment Industry) ผลการศึกษาพบว่า การเป็นดารานักวิ่งมาราธอนไทยที่ได้ใช้การวิ่งมาราธอนไปสู่การช่วยเหลือสังคม เป็นการขยายแวดวงจากการเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงบันเทิง มาสู่แวดวงกีฬา มีทุนสัญลักษณ์จากชื่อเสียงที่เกิดขึ้นในแวดวงบันเทิงผ่านการถูกนำเสนอของสื่อมวลชน โดยสื่อมวลชนได้สร้างชื่อเสียงนั้นให้และให้การรับรอง (Status Conferral) ในการเป็นคนดัง แต่การวิ่งมาราธอน ต้องใช้ทุนทางด้านร่างกายที่ต้องเกิดจากการสั่งสมและสร้างขึ้นมาเอง โดยอาทิวราห์ คงมัย มีทุนวัฒนธรรมทางด้านกีฬาตั้งแต่ก่อนเข้าสู่แวดวงบันเทิง มีแรงจูงใจในการวิ่งมาราธอน และได้เพิ่มทุนวัฒนธรรมความรู้เรื่องการวิ่งมาราธอน ประกอบกับการนำเสนอของสื่อมวลชนในภาพลักษณ์ทางด้านกีฬาจนเป็นที่ยอมรับผ่านการเป็นพรีเซนเตอร์สินค้ากีฬา มีงานที่เกี่ยวกับการวิ่งมาราธอน จนกระทั่งนำไปสู่การใช้การวิ่งมาราธอนแปลบทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม ดังเช่น อาทิวราห์ คงมาลัย ที่ได้จัดทำโครงการก้าวคนละก้าว ไปสู่การก่อตั้งมูลนิธิก้าว โดยใช้การวิ่งมาราธอนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร คำสำคัญ: กระบวนการสั่งสมทุน  แปลงทุน  ขยายทุน  ดารา  วิ่งมาราธอน The objectives of this research are to study the process of the accumulation, transformation, and extension of capital of Thai Marathon Runner Celebrity. The article is qualitative research with purposive samples; Artiwara Kongmalai analyzed within the criteria of Thai Marathon Runner Celebrity. This research used both in-depth interviews and analyzing media documents; traditional media and new media, to collect the data. The period in this research is composed of Historical Background, Entry Entertainment Industry, and Entry Sport-Entertainment Industry. The outcome of the research reveals that Thai Marathon Runner Celebrity using the capital extended from the entertainment field to the sports field according to the popularities and the status conferral given by the press to create social development. To be accepted in the sports field, Thai Marathon Runner Celebrity has to create and accumulate body capital, has the motivation, has knowledge about marathon running, and be presented in mass media as the image of the sportsperson. Moreover, they should participate in marathon running events and be the presenter for sports products. They could use their capital to contribute to society such as the Kaokonlakao Project and the Kaokonlakao Foundation by Artiwara Kongmalai. Keywords: Accumulation of Capital, Transformation of Capital, Extension of Capital, Celebrity, Marathon Running

Downloads

Download data is not yet available.

References

วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2557). การสื่อสารกับวาทกรรมทางการวิ่งในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เก้า มีนานนท์. (2560). “ตูน บอดี้สแลม” จากก้าวแรกเพื่อชนะใจตัวเอง จนถึงก้าวล่าสุดคือชนะคนไทย. Thestandard. สืบค้นจาก https://thestandard.co/toon-artiwara-kongmalai

กาญจนา แก้วเทพ, และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Shuart, J. (2007). Heroes in Sport: Assessing Celebrity Endorser Effectiveness. America: Sacred Heart University.

กาญจนา แก้วเทพ. (2548). การวิจัย: จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อรวรรณ วิชญวรรรกุล. (2559). ผู้หญิงกับการสร้างนวนิยายชายรักชาย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Boorstin, J, D. (1987). The Image: A guide to pseudo-events in america. New York: Atheneum.

Murphy, R, D. (1977). Mass Communication and Human Interaction. US: Houghton Mifflin.

สุขุม หวังพระธรรม. (2553). จากวีรบุรุษสู่ผู้มีชื่อเสียง: การสื่อสารกับการสร้างภาพลักษณ์ดาราฟุตบอลไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสาร

ศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลลิตา บงกชพรรณราย. (2560). ปัจจัยด้านการสื่อสารและทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Sima Zach, Yan Xia, Aviva Zeev, Michal Arnon, Noa Choresh, and Gershon Tenenbaum. (2017). Motivation dimensions for running a marathon: A new model emerging from the Motivation of Marathon Scale (MOMS). Journal of Sport and Health Science, 6(3), 302-310.

ณิชารีย์ สุขอร่าม. (2560). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเข้าร่วมโครงการก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Fog, A. (1999). Culture Selection. Kluwer Academic Publishers. New York.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

ทรัพย์สินวิวัฒน์ อ. (2022). กระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ของ “อาทิวราห์ คงมาลัย” ในการวิ่งมาราธอนเพื่อช่วยเหลือสังคม (THE PROCESS OF THE ACCUMULATION, TRANSFORMATION, AND EXTENSION OF CAPITAL FOR SOCIAL DEVELOPEMENT: CASE STUDY ARTIWARA KONGMALAI). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(28, July-December), 174–183. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15057