กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ศึกษาสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครูอาชีวศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร 17 แห่ง จำนวน 196 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ 2) ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 25 คน โดยใช้แบบสอบถามสภาพและปัญหาเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 9 คน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลยุทธ์ และ 4) ผู้เชี่ยวชาญในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 5 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาโมเดลปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูอาชีวศึกษาตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคม ปัจจัยด้านการเปิดกว้างทางความคิด ปัจจัยด้านลักษณะการคิดริเริ่ม และปัจจัยด้านการสนับสนุนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) สภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.70, S.D. = 1.16) สภาพปัญหา คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ขาดการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการพัฒนายังไม่ตรงจุดและไม่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์และลักษณะงาน 3) กลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 12 กลยุทธ์ ครอบคลุมกลยุทธ์ 4 ประเภท ได้แก่ กลยุทธ์แบบ SO จำนวน 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ ST จำนวน 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ WO จำนวน 3 กลยุทธ์ และกลยุทธ์แบบ WT จำนวน 3 กลยุทธ์ และ 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.23, S.D. = 0.81) ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมควรคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลและสภาพแวดล้อมทุกด้านเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ซึ่งเมื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจริงจะได้สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างตรงจุด และตอบโจทย์การพัฒนาต่อไป คำสำคัญ: กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม The purposes were to: 1) develop a model of causal factors affecting innovative working behavior, 2) study the current condition of human resource development, 3) develop strategies of human resource development according to the developed model and current condition, and 4) evaluate the appropriateness and possibility of the developed strategies for implementation. The sample group consisted of 1) 196 teachers in government’s vocational colleges in Bangkok to study causal factors with a questionnaire, 2) 25 teachers in the selected vocational college to study the current condition of human resource development with a questionnaire, 3) 9 head teachers and teachers in the selected vocational college to conduct a strategy development workshop with a record sheet, and 4) 5 administrators as experts in the selected vocational college to evaluate appropriateness and possibility of the developed strategies for implementation. Statistical methods used were means, standard deviation, structural equation model (SEM) analysis, and content analysis. The research results were 1) the causal model was valid and fit well with the empirical data. The social network, open mindedness, original thinking, and organizational support factors had influence on innovative working behavior, 2) the current condition of human resource development was at a high level (X ̅ = 3.70, S.D. = 1.16) while problems covered the ineffective human resource development, the lack of follow-up and systematic evaluation, and the unmatched development with development needs, 3) the strategies to enhance innovative working behavior of teachers consisted of vision, human resources development mission, 12 strategies, which were divided into 4 types of strategies, that is, SO strategy for 3 strategies, ST strategy for 3 strategies, WO strategy for 3 strategies, and WT for 3 strategies, and 4) the evaluation of the strategies’ appropriateness and possibility for implementation was at a high level (X ̅ = 4.23, S.D. = 0.81). In conclusion, human resource development strategies should start from the analysis of causal factors and all sides of organizational environment to establish appropriate and possible human resource development strategies for implementation in order to enhance innovative working behavior of vocational teachers direct to the point and developmental needs. Keywords: Human Resource Development Strategies, Causal Factors, Innovative Working BehaviorDownloads
References
นรินทร์ สังข์รักษา, พิทักษ์ ศิริวงศ์, สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์, และศิวกรณ์ เอ่งฉ้วน. (2561). การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูอาชีวศึกษาให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 2852-2872.
แววตา พูลสวัสดิ์, ประเวศ เวชชะ, ไพรภ รัตนะชูวงศ์, และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2561). การบริหารจัดการการอาชีวศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคการศึกษาไทย 4.0 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีซีเทคแปซิฟิค. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 8-16.
สํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ด้านการอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563จาก http://www.onesqa.or.th/upload/download/file_aa8ac858af107871b3614814c07c0dd4.pdf
Serdyukov, P. (2017). Innovation in education: what works, what doesn’t, and what to do about it. Journal of Research in Innovative Teaching & Learning, 10(1), 4-33.
Philmckinney. (2017). Innovation in the classroom: why education needs to be more innovative. Retrieved from https://philmckinney.com/innovation-classroom-education-needs-innovative/
นรินทร์ สังข์รักษา, เฉลียว บุรีภักดี, และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2556). รายงานวิจัยการประเมินโครงการและถอดบทเรียนจากโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบุรี.
สุวิช แย้มเผื่อน. (2552). หลักการจัดการ. ภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ศูนย์ตำราอาจารย์นิมิตร จิระสันติการ.
วิทยากร เชียงกูล. (2550). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2549/2550: การแก้ปัญหาและการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน: แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 25-41.
กนกนาฏ เอียดมาก, กนกวรรณ สุขโณ, จุฑาทิพย์ แดงเหมือน, สาวิตรี วงค์งาม, วรรณภรณ์ บริพันธ์, และสัญชัย ลั้งแท้กุล. (2561). พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561. หน้า 1-7. นครศรีธรรมราช. ประเทศไทย.
ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์การธุรกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ธนกฤต แซ่โค้ว. (2557). ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการปฏิบัติงานเพื่อรองรับเศรษฐกิจอาเซียนของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Mathis R. L., & Jackson J. H. (2004). Human Resource Management. 10th ed. Singapore: South Western.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2552). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดใจ วันอุดมเดชาชัย. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
วสันต์ สุทธาวาศ, และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 530-545.
นวลจันทร์ ปุยากุล. (2551). โรงงานแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาเส้นทางแห่งนวัตกรรมการอาชีวศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวนชัย อรุณโรจน์, และเกรียงชัย ปึงประวัติ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้สอดรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 16-23.
พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์: เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 1(2), 55-75.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์การวางแผนและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
Delahaye, B. L. (2005). Human resource development: Adult learning and knowledge management. Sydney: John Wiley & Sons.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
วารี ชมชื่น, เรขา อรัญวงศ์, และขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2558). กลยุทธ์การดำเนินการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(ฉบับพิเศษ), 87-100.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.