การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
Abstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู และ 2. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นิสิต จำนวน 265 คน อาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 9 คน อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 9 คน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1 ภาคเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ แบบประเมินทักษะการเป็นครูในอนาคต แบบประเมินทักษะการสังเกตเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการสะท้อน ผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แบบประเมินการทำหน้าที่อาจารย์นิเทศก์/อาจารย์พี่เลี้ยง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใช้เทคนิคการสอนงานโดยใช้กระบวนการการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ใช้แนวการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา และพัฒนาการทำหน้าที่อาจารย์นิเทศก์/อาจารย์พี่เลี้ยง โดยมีหลักการ มี 7 ข้อ ขั้นตอนการดำเนินการใช้รูปแบบ มี 4 ขั้นตอน ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นิสิตครูที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาจารย์พี่เลี้ยง/อาจารย์นิเทศก์ ที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการการทำหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยง/อาจารย์นิเทศก์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: รูปแบบ การฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู The current research purposes to (1) to develop a pattern of teaching practicum throughout a process of action research at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University in order to develop pre-service teachers’ instruction and (2) to investigate effectiveness of implementing the pattern which was developed. The sample of the research includes 265 pre-service teachers, 9 school mentors, and 9 university supervisors. The data collection is of a one-semester duration. The instruments of the research are composed of (1) an instruction manual of the pattern of teaching practicum throughout the process of action research at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University, (2) an assessment form of teacher skill, (3) an assessment form of observation skill, (4) an assessment form of reflection skill, (5) an assessment form of responsibilities of school mentors or university supervisors, and (6) an interview form of opinions toward the developed pattern. The quantitative data were analyzed with percentage, mean, and standard deviation, and T-test, and the qualitative data were analyzed with content analysis. The results reveal that the developed pattern with a technique of coaching and mentoring and a learning process throughout reflective thinking aims to improve the pre-service teachers’ instruction in the school and to develop responsibilities of school mentors or university supervisors The principle 7 items procedure. The procedure for implementing 4 pattern. The effectiveness of the developed pattern is revealed that the pre-service teachers who implemented the pattern developed in their instruction after the experiment with the significantly statistical level 0.05; besides, the school mentors or the university supervisors who implemented the pattern developed in the responsibilities as the school mentors or the university supervisors more than the period before the experiment with the significantly statistical level 0.05. Keywords: The Pattern, Teaching Practicum, Teacher ProfessionDownloads
References
อาฟีฟี ลาเต๊ะ, มัฮดี แวดราแม, แวฮาซัน แวะหะมะ, สุพรรษา สุวรรณชาตรี, นูรอาซีกีน ยีสมัน, และฮามีด๊ะ มูสอ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านการพัฒนาอาจารย์พี่เลี้ยงด้วยการสร้างระบบการโค้ชในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ทุนสนับสนุนวิจัย (สกว).
วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนา สมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, L.J. (1984). Essentials of Psychological Testing. (4th Edition). New York: Harper & Row.
ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู. งานวิจัยทุนสนับสนุนจากงบรายได้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2559. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
กรัณย์พล วิวรรธมงคล, และพลวัต วุฒิประจักษ์. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนักศึกษาครู มหาวิทยาลันราชภัฎกาญจนบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
กัตตกมล พิศแลงาม. (2562, พฤษภาคม-สิงหาคม ). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิด โดยใช้รูปแบบวงจรของกิ๊บส์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษา การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์, 13(2), 1-14.
ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วารสารการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(1), 188-205.
นงเยาว์ สมพิทยานุรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูพยาบาล. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Jalal, M.O. (2010, December). Lesson Study: Problem Solving Approaches in Mathematics Education as a Japanese Experience. (ICMER 2010). Procedia Social and Behavioral Sciences, (8), 17-27.
ปารณีย์ ขาวเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรงุเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2552, มีนาคม-มิถุนายน). การศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson Study) ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์, 37(3), 131-149.
นันทวัน ทองพิทักษ์, เสนอ ภิรมจิตรผ่อง, และสมาน อัศวภูมิ. (2559, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(3), 527-542.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.