คุณค่าของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (SONG VALUE IN REMEMBRANCE OF HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ THE GREAT)
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทางด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 127 บทเพลง วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการพรรณนาความ บนพื้นฐานแนวคิด “บทเพลงที่สะท้อนภาพพระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจในพระองค์ และบทเพลงที่สะท้อนถึงความคิด ความเชื่อ และอารมณ์สะเทือนใจ ที่ผู้ประพันธ์ในฐานะตัวแทนในการถ่ายทอดความรู้สึกต่าง ๆ ในจิตใจของเหล่าพสกนิกร ก่อให้เกิดจิตสำนึกของมนุษย์ในสังคมชุมชนได้” ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าของบทเพลงเมื่อพิจารณาจากเนื้อหา มี 2 ประการคือ 1) คุณค่าทางด้านจริยศาสตร์ คือลักษณะเนื้อหาที่เป็นความดี ได้แก่ การเป็นผู้ให้ ความเป็นผู้ประพฤติดี ความเสียสละ ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความอดทน ความเที่ยงธรรม ความเมตตาความจงรักภักดี และความกตัญญู 2) คุณค่าทางด้านสุนทรียศาสตร์ คือลักษณะเนื้อหาที่เป็นความงาม ได้แก่ ความซาบซึ้งใจ ความกินใจหรือประทับใจ ความภาคภูมิใจ ความพอใจ สุขใจหรืออิ่มเอมใจความเพลิดเพลินหรือรื่นรมย์ใจ ความโศกเศร้าหรือรันทดใจ และความเห็นอกเห็นใจ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า คุณค่าทางด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ในบทเพลงทำให้เหล่าพสกนิกรรู้สึกซาบซึ้งประทับใจในถ้อยคำและข้อความจากบทเพลงที่กล่าวถึงคุณงามความดี น้อมนำให้เกิดความรู้สึกจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คำสำคัญ: ในหลวงรัชกาลที่ 9 บทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คุณค่า จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ This article aims to study the values found in songs in loving memory of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great in the aspects of King’s prosperous behavior and his royal duties. His Majesty the King the Great spent 70 years developing the nationwide Royal Projects and making Thai people’s lives better. The 127 songs have been collected from 1946 up to the present and the descriptive analysis makes through the contents and the social contexts from the songs which reflect King’s prosperous behavior and his royal duties and from the thoughts, beliefs and emotions of Thai people that the composers represent through their songs. Based on the concept, songs can make people emotionally stable and conscientious. The findings: there are 2 values: 1) The ethics values from the content are; giving, morality, sacrifice, honesty, gentleness, perseverance, forbearance, equity, kindness, loyalty, and gratefulness. 2) The aesthetics values are; appreciation, impression or touching, proudness, satisfaction happiness or complacence, enjoyment or delightfulness, sadness or melancholy and sympathy. Conclusion: Both the ethic and aesthetic values from the songs induce people to make the allegiance to His Majesty King Bhumibol Adulyadej.Keywords: King Rama IX, Song in Remembrance of King Rama IX, Values, Ethics, AestheticDownloads
References
ไพบูลย์ สำราญภูติ. (2550). เพลงลูกกรุง. กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
ธงทอง จันทรางศุ. (2560). ความสุข ความทรงจำในรัชกาลที่ ๙. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มติชน.
อนุมานราชธน, พระยา. (2515). การศึกษาวรรณคดี แง่ วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
Schroeder, M. (2008). Value Theory. Retrieved June 27, 2020, from https://plato.stanford.edu/entries/value-theory
Velasquez, M., Andre, C., Shanks, T., S.J., and Meyer, M.J. (2010). What is ethics? Retrieved June 27, 2020, from https://www.scu.edu/ethics/ethics-resources/ethical-decision-making/what-is-ethics/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ญาณวชิระ (นามแฝง). (2549). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย. กรุงเทพฯ: วชิราสำนักพิมพ์.
น้อย พงษ์สนิท. (2527). จริยศาสตร์: ปรัชญาว่าด้วยจริยธรรม. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระเทวินทร์ เทวินโท. (2550). จริยศาสตร์ จริยธรรมและคุณธรรม. กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2543). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2548). หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2556). ทศพิธราชธรรม: ๑๐ ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร. กรุงเทพฯ: เสน่ห์การพิมพ์.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2524). ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาตะวันออก) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Andy Hamilton. (2007). Aesthetics and Music. Continuum International Publishing Group. NY. USA.
ชะวัชชัย ภาติณธุ. (2544). ทัศนศิลป์วิจารณ์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
อารี สุทธิพันธุ์. (2533). ประสบการณ์สุนทรียะ. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.
อัควิทย์ เรืองรอง. (2552). การวิเคราะห์แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาพัฒนศึกษา) ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาร์เธอร์ ซี แดนโต. (2552). ความเรียงของ Arthur C. Danto เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์. (สมเกียรติ ตั้งนโม, ผู้แปล). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561, จาก http://midnightuniv.tumrai.com/midnighttext/000885.doc
ดวงกมล บางชวด. (2554). การถ่ายทอดบทเพลงไทยสากลประเภทเพลงปลุกใจเพื่อเสริมสร้างสำนึกความรักชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาพัฒนศึกษา) ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลีโอ ตอลสตอย. (2551). ศิลปะคืออะไร. (สิทธิชัย แสงกระจ่าง, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊ค.
ไพบูลย์ สำราญภูติ. (2553). 100 เพลงดี 100 ปี เอื้อ สุนทรสนาน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). บทเพลงจากดวงใจแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระผู้สถิตในหทัยราษฎร์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชมัยภร บางคมบาง. (2563, 25 สิงหาคม). ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗. [บทสัมภาษณ์].
สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ. (2559). ตามรอยพ่อ ก-ฮ. กรุงเทพฯ: สารคดี.
งามศรี สุขุมพัฒน์. (2559). วัดป่าพุทธญาณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เปลว สีเงิน. (2559). คิดถึงในหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ช. คชา.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.