การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Authors

  • พรหทัย ตัณฑ์จิตานนท์ สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และเพื่อทำนายความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาจากการรับรู้ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และจากการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของตัวอย่าง จำนวน 120 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 360 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบประเมินการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอน แบบประเมินประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก หรือแปรผันตามกับการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ (rxy) เท่ากับ .729 และ .695 ตามลำดับ 2) การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสามารถทำนายหรืออธิบายการผันแปรคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้ร้อยละ 74.7 และ 73.9 หรือมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = 74.7 และ 73.9 ตามลำดับ คำสำคัญ: การรับรู้  ความคิดสร้างสรรค์  ประสิทธิภาพภายในตนเอง  นักศึกษาระดับปริญญาตรี This research aimed to analyze the relationships between the perceived instructors’ support for creativity, undergraduate students’ creative self-efficacy and the undergraduates’ creativity and to explain the variation of the undergraduates’ creativity from perceived instructors’ support for creativity and from their creative self-efficacy. The 120 purposive samples were selected by the researcher from the 360 population, undergraduate students who enrolled in English for Life Skill Course at Rajamangala University of Technology Lanna, during the second semester of the academic year 2020. The researcher collected data from three evaluation forms; perceived instructors’ support for creativity, creative self-efficacy and undergraduates’ creativity. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, Person’s correlation and multiple regression analysis. The results were as follows: 1) The undergraduates’ creativity had the positive relationship by statistical significance at .01 level, as the perceived instructors’ support for creativity and creative self-efficacy; the correlation coefficient (rxy) equaled to .729 and .695 respectively. 2) The perceived instructors’ support for creativity and the creative self-efficacy correlated to undergraduates’ creativity and were statistically significant at .01 level, which were able to forecast or explain the 74.7 and 73.9 percent variation of undergraduates’ creativity scores, coefficient of decision-making (R2) = 74.7 and 73.9 respectively. Keywords: Perception, Creativity, Self-Efficacy, Undergraduates

Downloads

Download data is not yet available.

References

Blaskova, M. (2014). Influencing Academic Motivation, Responsibility and Creativity. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 159, 415-425.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 151.

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. (2555). รายละเอียดของเนื้อหา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

Trompenaars, F., and Hampden-Turner, C. (2010). Riding the Waves of Innovation. New York: McGraw-Hill.

Andriopoulos, C., and Lowe, A. (2000). Enhancing Organizational Creativity: The Process of Perpetual Challenging. Management Decision, 38(10), 734-742.

Cumming, A., & Oldham, G. R. (1997). Enhancing Creativity: Managing Work Contexts for The High Potential Employee. California Management Review, 40(1), 22-38.

Tierney, P., Farmer, S. M., and Graen, G. B. (1999). An Examination of Leadership and Employee Creativity: The Relevance of Traits and Relationships. Personnel Psychology, 52, 591-620.

Kanter, R. M. (1983). The Change Masters: Innovation and Entrepreneurship in the American Corporation. New York: Simon & Schuster.

Tushman, M., and O’Reilly, C.A. (1997). Winning through Innovation: A Practical Guide to Leading Organizational Change and Renewal. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Utterback, J.M. (1994). Mastering the Dynamics of Innovation. Boston, MA: Harvard Business School Press.

อรณิชชา ทศตา, และกชพร ใจอดทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(2), 64-77.

ปาริชาติ บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, และปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 7(1), 241-254.

Tierney, P., and Farmer, S.M. (2002). Creative Self-Efficacy: Its Potential Antecedents and Relationship to Creative Performance. Academy of Management Journal, 45(6), 1137-1148.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และความคิดสร้างของบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2557). ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อและความคิดสร้างของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

DuBrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. 6th ed. Toronto: Houghton Mifflin Company.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. New York: New York University.

Di Lello, T. C., and Houghton, J. D. (2008). Creative Potential and Practised Creativity: Identifying Untapped Creative in Organizations. Creativity and Innovation Management, 17(1), 37-46.

Amabile, T.M. (1999). How to Kill Creativity. In Harvard Business Review on Breakthrough Thinking. Boston, MA: Harvard Business School Press, pp. 1-28.

Gardner, R.C., & Lambert, W.E. (1972). Attitudes and Motivation in Second Language Learning. Rowley, MA: Newbury House.

Guilford, J.P. (1980). Cognitive Styles: What are They? Journal of Educational and Psychological Measurement, 40(3), 715-735.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amabile, T.M. (1988). A Model of Creativity and Innovation in Organizations. Research in Organizational Behavior, 10, 123-167.

Mumford, M. D., and Gustafson, S. B. (1998). Creativity Syndrome: Integration, Application, and Innovation. Psychology Bulletin, 103(1), 27-43.

Woodman, R.W., Sawyer, J.E., and Griffen, R.W. (1993). Toward a Theory of Organizational Creativity. Academy of Management Journal, 18(2), 293-321.

Amabile, T.M. (1983). The Social Psychology of Creativity: A Componential Conceptualization. Journal of Personality and Social Psychology, 45(2), 357-376.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman & Company.

Ford, C. M. (1996). A theory of Individual Creative Action in Multiple Social Domains. Academy of Management Review, 21(4), 1112-1142.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, อภิชาต กิตติศักดิ์นาวิน, และศรวิชา กฤตาธิการ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรบริษัทธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน). วารสารวิทยาการจัดการราชภัฏอุดรธานีมหาวิทยาลัย, 1(2), 1-17.

กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

Published

2022-06-29

How to Cite

ตัณฑ์จิตานนท์ พ. (2022). การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 87–101. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14489