ความอยู่ดีมีสุขของแม่เลี้ยงเดี่ยวในชุมชนแออัด เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (WELLBEING OF SLUM SINGLE MOTHERS IN KLONGTOIE DISTRICT, BANGKOK)

Authors

  • ธวัลรัตน์ ใหม่รัตนไชยชาญ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • อาแว มะแส คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุข กลวิธีการดำรงชีพเพื่อไปสู่ความอยู่ดีมีสุข และเงื่อนไข ที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดพาสุข (นามสมมติ) ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วิธีวิจัยที่ใช้ คือ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษาแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 18 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) แม่เลี้ยงเดี่ยวที่อาศัยอยู่กับบุตรและญาติ 2) แม่เลี้ยงเดี่ยวที่อาศัยอยู่กับบุตรเพียงลำพัง กลุ่มละ 9 ราย และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่การสังเคราะห์และการตีความ ผลการวิจัยพบว่า ความอยู่ดีมีสุขของแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้ง 2 กลุ่ม มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ 1) การมีทรัพย์สินเงินทองสำหรับการใช้สนองความต้องการในการดำรงชีพและเก็บออม 2) การที่สามารถสนับสนุนให้ลูกได้รับการศึกษาในระดับสูง และ 3) การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง นอกจากนี้ แม่เลี้ยงเดี่ยวกลุ่มที่ 2 ยังให้ความสำคัญกับความต้องการบุคคลที่ไว้วางใจอยู่เคียงข้าง กลวิธีการดำรงชีพของแม่เลี้ยงเดี่ยวยึดหลัก “3F” คือ 1) การต่อสู้บากบั่นทำงาน (Fighting) 2) มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) และ 3) การให้ความสำคัญกับครอบครัวและลูกที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู (Family Oriented) เงื่อนไขที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขของแม่เลี้ยงเดี่ยว คือ ด้านนโยบายภาครัฐ สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐเต็มที่ และรัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะรองรับเพื่อการพัฒนาความอยู่ดีมีสุข และข้อค้นพบเพิ่มเติม คือ แม่เลี้ยงเดี่ยวในชุมชนแออัดนี้มีพลังและความแข็งแกร่งของความเป็น “แม่เลี้ยงเดี่ยว” อันยิ่งใหญ่ที่พยายามทำทุกวิถีทางที่จะนำพาชีวิตของตนเองและครอบครัวไปสู่ความอยู่ดีมีสุขให้ได้ต่อไป คำสำคัญ:  ความอยู่ดีมีสุข  แม่เลี้ยงเดี่ยว  ชุมชนแออัด This research aimed investigate wellbeing, livelihood strategies to pursue Wellbeing and the conditions that effecting Wellbeing achievement of single mothers in Phasuk (alias) slum, Klongtoie district, Bangkok. This research was conducted following a qualitative methodology. Data were collected through in-depth interviews with 12 key informants, and 18 cases of single mothers; divided into 2 groups, 9 each; 1) single mothers living with children and relatives and 2) single mothers living only with children. Data analysis was done by means of typological analysis, synthesis, and interpretation. The resulted showed that the wellbeing of the two groups of single mothers consisted of 3 main components; 1) having property and money for living and saving, 2) being able to support their children to pursue a higher education, and 3) being physically healthy. Furthermore, the second group of single mothers also expressed the needs for support from someone trustful. Their livelihood strategies adhere to the “3F” principles: 1) Fighting, 2) Flexible, and 3) Family Oriented. Conditions affecting the wellbeing of single mothers found to be related to state policies, their social and cultural conditions, and economic conditions of their families, and the environment of the area where they lived. As there was no clear state policies or regulations to actually support single mothers, they seemed to have limited access to several government services. And further research showed that these single mothers have the great power and strength of being a “Single Mother” to try to bring them and their family wellbeing. Keywords:  Wellbeing, Single Mothers, Slum

Downloads

Download data is not yet available.

References

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2555). ความอยู่ดีมีสุข. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(2), 23-50.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

วิรงรอง สิตไทย, และณิสา แจ้งบุญ. (2563). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(23), 73-85.

ศรัญญา กันตะบุตร, และนิตยา เจรียงประเสริฐ. (2562). ความหมายและรูปแบบการให้บริการของ Wellness Tourism ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(2), 25-43.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. สำนักงานสภาพพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2562, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3783

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สำนักงานสภาพพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2562, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

กรมการปกครอง. (2560). รายงานสถิติจำนวนทะเบียนหย่า. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry/new/stat-gen/static.php?divorce

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). รายงานประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

ชลลดา จารุศริชัยกุล. (2555). เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.

กนกรัตน์ สิทธิบุศย์. (2557). บทบาทและการสื่อสารของแม่เลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทองคำ แซ่โง้ว. (2559). สรุปการสำรวจข้อมูลครัวเรือนของคณะกรรมการบริหารชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 70 ไร่. กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2553). โครงการส่งเสริมการใช้รูปแบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดในชุมชน. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

สำนักงานเขตคลองเตย. (2564). ชุมชนในคลองเตย. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/khlongtoei/page/sub/47/ชุมชนในเขตคลองเตย#

เมธาวี บุญพิทักษ์, และสากล จริยวิทยานนท์. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

Sen. (1985). The Dewey Lectures 1984. Well-Being, Agency and Freedom, 82(4), 169-221.

Doyal, L., & Gough, I. (1984). A theory of Human Needs. Critical Social Policy, 4(10), 6-38.

Chambers, R., and G. Conway. (1992). Sustainable Rural Livelihoods: Practical Concepts for the 21st Century. Institute of Development Studies (UK).

Lynda Graton, and Sumantra Ghoshal. (2003, February). Managing Personal Human Capital: New Ethos for the “Volunteer” Employee. European Management Journal, 21(1), 1-10.

ประชารัฐ. (2563, 13 สิงหาคม). พม. รับลูกนโยบายนายกฯ แก้ปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยวเปิดคลินิกทั่วประเทศ. สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/174449

วราพงษ์ ป่านแก้ว. (2558, 19 กันยายน). วิถีคนเมือง ชีวิตป่วน สังคมป่วย. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/388999

ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ. (2558). ความปลอดภัยและความรู้สึกปลอดภัยจากอาชญากรรมในสภาพแวดล้อมชุมชนอยู่อาศัยย่านเก่า เขตพระนคร กรุงเทพฯ กรณีศึกษาชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน. วารสารเวอร์ริเดี่ยน มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1517-1553.

Downloads

Published

2022-06-29

How to Cite

ใหม่รัตนไชยชาญ ธ., & มะแส อ. (2022). ความอยู่ดีมีสุขของแม่เลี้ยงเดี่ยวในชุมชนแออัด เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (WELLBEING OF SLUM SINGLE MOTHERS IN KLONGTOIE DISTRICT, BANGKOK). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 49–61. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14485