ผลของดนตรีคลาสสิคต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว (THE EFFECT OF CLASSICAL MUSIC ON TEST PERFORMANCE AND TEST ANXIETY OF INTROVERTS AND EXTRAVERTS)

Authors

  • วิชญ ผาติหัตถกร Srinakharinwirot University.
  • ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ Srinakharinwirot University.
  • ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ Burapha University.

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเสียงดนตรีคลาสสิคในยุคบาโรคและบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและระดับความวิตกกังวลในการสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1-4 วิชาเอกจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 156 คน จำแนกเป็นกลุ่มที่มีบุคลิกภาพ เก็บตัวและแสดงตัวโดยใช้แบบวัดบุคลิกภาพ จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เงื่อนไขเสียงดนตรี และเงื่อนไขสภาพการณ์ธรรมชาติ ตัวแปรแบ่งกลุ่ม ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเก็บตัว และแสดงตัว ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบหลังสิ้นสุดการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง (Two-way ANCOVA) โดยมีความวิตกกังวลในการสอบก่อนดำเนินการทดลองเป็นตัวแปรร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) นิสิตที่ได้รับเงื่อนไขการทดลองแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบหลังสิ้นสุดการทดลองไม่แตกต่างกัน 2) นิสิตที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ในการสอบไม่แตกต่างกัน แต่มีความวิตกกังวลในการสอบหลังสิ้นสุดการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 3) นิสิตที่ได้รับเงื่อนไขการทดลองแตกต่างกันและมีบุคลิกภาพแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบหลังสิ้นสุดการทดลองไม่แตกต่างกันคำสำคัญ: ดนตรีคลาสสิค บุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว ผลสัมฤทธิ์ในการสอบ ความวิตกกังวลในการสอบThis study investigated the effects of classical music in Baroque period and extraversion on test performance and test anxiety of college students. The participants were 156 Psychology students at Srinakharinwirot University. All participants completed a Personality Inventory to separate the introverts from extraverts group. They were randomly assigned to the experimental and control groups. The independent variable is test situations, music or non-music groups; the category variable is personality traits, introversion or extraversion; and the dependent variables are test performance and test anxiety after an exam. Two-way ANOVA and Two-way ANCOVA, with the pre-anxiety scores as the covariate, were used to analyze the effects and the interaction. Data analysis indicated that there is 1) no statistically significant difference in the exam scores and the anxiety scores between the experimental and control groups, 2) no statistically significant difference in the exam scores between introverts and extraverts but, for the anxiety scores, a significant difference at 0.01 level was found, and 3) no significant interaction between test situations and personality traits on test performance and test anxiety.Keywords: Classical music, Introvert, Extravert, Test performance, Test anxiety

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วิชญ ผาติหัตถกร, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์, Burapha University.

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

Published

2011-05-01

How to Cite

ผาติหัตถกร ว., สิทธิ์ศิรอรรถ ฉ., & จุลวนิชย์พงษ์ ธ. (2011). ผลของดนตรีคลาสสิคต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว (THE EFFECT OF CLASSICAL MUSIC ON TEST PERFORMANCE AND TEST ANXIETY OF INTROVERTS AND EXTRAVERTS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(5, January-June), 102–112. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/1438