ผลการส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดพังงา (EFFECTES OF RESILIENCE ENHANCEMENT OF MATHAYOM 3 STUDENTS IN OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS IN PHANG NGA PROVINCE)
Abstract
งานวิจัยนี้งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองแท้ (True- experimental design) แบบแผนของงานวิจัยนี้ใช้การทดสอบภายหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Posttest only control group design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่ได้รับและไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรค กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดพังงา จำนวน 78 คน สุ่มตัวอย่าง (Random assignment) เข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 38 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรค ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ สิ่งที่ฉันมี (I have) สิ่งที่ฉันเป็น (I am) และสิ่งที่ฉันทำได้ (I can) จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ต่อเนื่องกันสำหรับกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับเงื่อนไขการทดลองแต่ได้รับความรู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่กำลังศึกษา (Active control group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ โปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรค และแบบวัดการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรค ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ในการวิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานการวิจัยได้แก่ สถิติค่าทีแบบอิสระต่อกัน (t-test for independent sample) ผลการวิจัยพบว่า หลังสิ้นสุดการทดลอง นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคมีคะแนนการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคโดยรวม และรายด้านทุกด้าน คือ ด้านสิ่งที่ฉันมี (I have) ด้านสิ่งที่ฉันเป็น (I am) และด้านสิ่งที่ฉันทำได้ (I can) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05คำสำคัญ: การส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรค นักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาThe research was a true experimental design and posttest only control group design. The purposes of this study were to compare the resilience of Mathayom 3 students in an extended educational opportunity school who took or did not take the Resilience-Enhancing Program.The sample consisted of 78 Mathayom 3 students in an extended educational opportunity school in Phang-nga and were divided into an experimental group of 38people and a control group of 40people. The experimental group used the Resilience-Enhancing Program that was 3 dimensions in this program, as well as,I have, I am, and I can. The activities provided 8 times in 4 week. The control group in this study was active control group, which used another activity that did not involve resilience. The research instruments included a Resilience Enhancing Program and a Resilience Questionnaire and descriptive statistics on a t-test for independent sample was used to analyze the hypothesis of this study. The results of the research can be summarized as follows: After the Resilience-Enhancing Program, the experimental group showed significantly total resilience score and score of 3 dimensions, such as; I have, I am, and I can, higher than the control group at .05.Keywords: Resilience Enhancement, Students, Extended Educational Opportunity SchoolDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
How to Cite
ทองญวน ร., สิทธิ์ศิรอรรถ ฉ., พันธุมนาวิน ด., & วัณโณ ว. (2021). ผลการส่งเสริมการปรับตนเพื่อเอาชนะอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดพังงา (EFFECTES OF RESILIENCE ENHANCEMENT OF MATHAYOM 3 STUDENTS IN OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS IN PHANG NGA PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 120–132. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14105
Issue
Section
บทความวิจัย