กระบวนการพัฒนาศักยภาพคณะนักร้องประสานเสียงไทยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติ: การศึกษาโดยวิธีการสร้างทฤษฎีฐานราก (PROCESSES OF DEVELOPING THAI CHOIRS TO INTERNATIONAL STANDARDS: A GROUNDED THEORY)

Authors

  • มนสิการ เหล่าวานิช มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

Abstract

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากสำหรับใช้ในการหาความหมายของความสัมพันธ์ที่เกิดจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาศักยภาพคณะนักร้องประสานเสียงไทยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติจนทำให้คณะฯ ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย ได้แก่ คณะฯ สวนพลู คณะฯ เยาวชนไทยและคณะฯ จุฬดาร์ ได้รางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันระดับนานาชาติ ทุกรายการ ทุกประเภทที่ลงแข่งขัน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้อำนวยเพลงทั้ง 3 คณะฯ การสนทนากลุ่มจากตัวแทนคณะฯ จำนวน 27 คน และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างและปรับสมมุติฐานทฤษฎี ผลการศึกษาพบว่า ทฤษฎีฐานรากของกระบวนการพัฒนาศักยภาพคณะนักร้องประสานเสียงไทย เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์อันซับซ้อนของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการวง ผู้อำนวยเพลง คณะทำงาน สมาชิกนักร้อง โดยแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาคณะฯ ได้แก่ 1. การวางเป้าหมายเพื่อการไปแข่งขันอย่างชัดเจน 2. การสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกในการไปแข่งขัน 3. ผู้อำนวยเพลงศึกษาเกณฑ์และถ่ายทอดให้สมาชิกรับทราบร่วมกัน 4. การวางแผนการซ้อมด้วยการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด 5. การพัฒนาสมรรถนะของสมาชิกนักร้อง โดยการพัฒนาเทคนิคของสมาชิกเป็นรายบุคคล ทั้งเทคนิคการร้องส่วนตัว และเทคนิคการร้องรวมวง เพื่อให้คุณภาพเสียงของคณะฯ ได้ตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนการขับเคลื่อนของคณะฯ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมของคณะฯ 2) ปัจจัยด้านครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และหน่วยงานต้นสังกัดของสมาชิกนักร้อง 3) ปัจจัยด้านผู้ชมการแสดงคำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพ  คณะนักร้องประสานเสียง  การแข่งขันนานาชาติ  การสร้างทฤษฎี ทฤษฎีฐานรากThe aim of this research was chiefly to formulate a grounded theory in order to find the pattern behind phenomenon emerging from the processes of developing the capabilities of Thai choirs to international standard. The phenomenon had affected three Thai choir Suanplu Chorus, Thai Youth Choir and Chulada Choir to achieve gold medals in every international music competition that they had entered. The research was conducted by in-depth interviews with conductors of those three choirs, a focus group discussion from 27 representatives of each choir, and a participative observation in order to cooperatively formulate and fine-tune the theory. The research revealed that the grounded theory in developing capabilities of Thai choirs was a complex procedure involving many parties including choir director, conductor, choir management team, and choir members. A guideline in developing Thai choirs consisted of: 1. setting explicit goals to participate in music competition 2. building confidences among members in the choir 3. effective studying of competition criteria by conductor and communicating the criteria to all members 4. designing a clear practice of rehearsal planning to achieve a maximum efficiency 5. developing competency of all singers by considering a personal vocal training both individual and ensemble technique in order to meet the established standard. In addition, other auxiliary factors were needed to support the choirs including 1) the factor related to funding to support all related activities and expenses of the choirs 2) the factor concerning the supports from family, friends, and work or other affiliations of the singers 3) the factor relating to the audience of the performance.Keywords: Potential Development, Choirs, International Competition, Theory Development, Grounded Theory

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

มนสิการ เหล่าวานิช, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาCollege of Music, Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

Downloads

Published

2021-12-30

How to Cite

เหล่าวานิช ม. (2021). กระบวนการพัฒนาศักยภาพคณะนักร้องประสานเสียงไทยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติ: การศึกษาโดยวิธีการสร้างทฤษฎีฐานราก (PROCESSES OF DEVELOPING THAI CHOIRS TO INTERNATIONAL STANDARDS: A GROUNDED THEORY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 90–104. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14104