บทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนสู่การพึ่งตัวเองอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Authors

  • อุ่นเรือน เล็กน้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University.
  • อรรณพ เยื้องไธสง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University.

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและรูปแบบการขับเคลื่อนของชุมชนบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ดำเนินการขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงย้อนรอย (ex post facto research) จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) และประชุมกลุ่ม (Group Discussion) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานเป็นการพัฒนาแบบล่างขึ้นบน (Bottoms up) คือ เปิดให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชุมชน ร่วมกับบทบาทของสภาผู้นำชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะ “สภาเปิด” จากผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อเป็นแกนนำในคณะทำงานขับเคลื่อน ติดตาม และประสานงานพันธกิจดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้จากหน่วยงานทั้งภาครัฐในท้องที่และองค์กรภาคเอกชน ซึ่งการดำเนินการแบ่งการขับเคลื่อนงานออกเป็น 3 มิติ คือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณธรรมและศีลธรรมของชุมชน ในขณะที่ด้านรูปแบบการขับเคลื่อนงานเศรษฐกิจพอเพียงหลักของชุมชน มีการจัดทำโครงการ “ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น และมีการสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วม ด้วยการสนับสนุนพันธุ์สัตว์เลี้ยง และเมล็ดพันธุ์ผักเพื่อสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ที่ผ่านกระบวนการวิจัยโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ และมีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะข้อตกลงร่วมกันของสมาชิก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายมีความโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะชุมชนคำสำคัญ: ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง  การพึ่งตนเอง  การพัฒนาที่ยั่งยืนThis research is aimed to study the role of sufficiency economy philosophy and different types of practices carried out since 2003 by Huaikhayeng community, Thong Pha Phoom, Kanchanaburi province. The researcher utilized ex post facto research, in depth Interview and Group Discussion as research tools.  The study found that the community has worked under bottoms up pattern allowing the locals to play a part in encouraging sufficiency economy in the community and cooperate with local councils. The council was established as “open council” welcoming members from both official and non-official selection processes to work following the targeted goals. The council was financially and informatively supported by both public and private organizations. There are 3 main areas that the community is responsible for: economic development, environmental development and morality encouragement. Concerning with economic development, the community has established the project namely “Sufficiency Economy Family” and persuades the locals to join by supporting livestock, and crop seeds to create income and decrease domestic spending among the locals. This study has been carefully conducted with systematic community research processes as well as strict mutual agreements among the community members. These are all key factors leading to the success of the project and the community in encouraging sufficiency economy philosophy.Keywords: Self-Sufficiency Economy Family, Self-Reliance, Sustainable Development

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุ่นเรือน เล็กน้อย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยSocial Research Institute, Chulalongkorn University.

อรรณพ เยื้องไธสง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยSocial Research Institute, Chulalongkorn University.

Downloads

Published

2021-12-30

How to Cite

เล็กน้อย อ., & เยื้องไธสง อ. (2021). บทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนสู่การพึ่งตัวเองอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 189–200. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14089