ความรู้และพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • ลักษณีย์ บุญขาว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ubon Ratchathani University.
  • พาวีนา ผากา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ubon Ratchathani University.

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างโดยวิธี Accidental Sampling เพื่อเก็บแบบสอบถามจากเกษตรกร จำนวน 103 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ซากบรรจุภัณฑ์ที่พบมากที่สุด คือ ขวดแก้ว ร้อยละ 90.29 เกษตรกรมีความรู้ในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 93.20 พฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ร้อยละ 93.20 โดยพฤติกรรมที่ยังไม่เหมาะสม คือ มีการนำซากบรรจุภัณฑ์ทิ้งลงถังขยะเทศบาล ไม่แยกประเภทของซากบรรจุภัณฑ์ และขายซากบรรจุภัณฑ์ให้กับร้านรับซื้อของเก่า คิดเป็นร้อยละ 28.16, 16.51 และ 14.57 ตามลำดับ และพบว่าเกษตรกรไม่ติดป้ายข้อความเตือนเขตอันตรายหลุมฝังกลบ ไม่เจาะทำลายซากบรรจุภัณฑ์ ไม่โรยปูนขาวเมื่อนำซากบรรจุภัณฑ์ไปฝังกลบ และไม่รองก้นหลุมฝังกลบด้วยปูนขาว คิดเป็นร้อยละ 57.14, 46.75, 41.55 และ 40.26 ตามลำดับ เป็นต้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่อไปคำสำคัญ: พฤติกรรม  ความรู้  การจัดการซากบรรจุภัณฑ์  สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  เกษตรกรปลูกผักThis cross-sectional research aims to study the knowledge and behavior concerning pesticide packaging waste management among vegetable growers in Khi Lek Subdistrict, Mueang District, Ubon Ratchathani Province. The questionnaire was collected from 103 vegetable growers by accidental sampling method. Data were analyzed using frequency count and percentages. The study found that the most common type of pesticide packaging found in this area was glass bottles (90.29%). The vegetable growers’ knowledge of pesticide packaging waste management was good (93.20%). Their behavior toward pesticide packaging waste management was at the improvable level, 93.20%. Their improper practices included the disposal of pesticide packaging waste into municipal bins (28.16%), the lack of engagement in separating pesticide packaging waste from other wastes (16.51%), and the selling of pesticide packaging waste to junk shops (14.57%). This study found that the vegetable growers did not do the following: putting up a warning sign at the landfill (57.14%), destroying pesticide packaging waste (46.75%), sprinkling lime when depositing pesticide containers in the landfill (41.55%), and putting lime in the dump pit (40.26%). Therefore, the concerned agencies should promote positive behaviors toward pesticide packaging waste management for vegetable growers to reduce the impacts of pesticides on human health and the environment.Keywords: Behavior, Knowledge, Packaging Waste Management, Pesticides, Vegetable Growers

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ลักษณีย์ บุญขาว, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ubon Ratchathani University.

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีCollege of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University.

พาวีนา ผากา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ubon Ratchathani University.

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีCollege of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University.

Downloads

Published

2021-06-29

How to Cite

บุญขาว ล., & ผากา พ. (2021). ความรู้และพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(24, July-December), 66–77. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13674