อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์และการรับรู้การควบคุมได้ที่มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความเชื่อใจ และการยอมรับต่อหุ่นยนต์
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ที่มีต่อความไว้วางใจและการยอมรับหุ่นยนต์ตามแนวคิดทฤษฎี S-E-E-K ที่นำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดหลักในการวิจัยนี้ โดยมีปัจจัยทางด้านความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์เป็นตัวแปรต้น การรับรู้การควบคุมได้เป็นตัวแปรกำกับ และแรงจูงใจทางสังคมเป็นตัวแปรควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิต จำนวน 200 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบร่วมกับการสุ่มอย่างง่ายเข้าหนึ่งใน 4 เงื่อนไข โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยดูรูปภาพและอ่านข้อความคุณสมบัติของหุ่นยนต์ที่มีการจัดกระทำให้มีความคล้ายคลึงมนุษย์และพฤติกรรมที่คาดเดา/ควบคุมได้ของหุ่นยนต์ที่แตกต่างกันในแต่ละเงื่อนไข จากนั้นตอบแบบสอบถามการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความไว้วางใจหุ่นยนต์การยอมรับหุ่นยนต์ ผลจากการวิเคราะห์เส้นทางพบว่า ความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ที่มีต่อหุ่นยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในเงื่อนไขที่มีการรับรู้การควบคุมและคาดเดาไม่ได้ทำให้อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์ที่มีต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายคลึงมนุษย์สูง และบุคคลไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาพฤติกรรมของหุ่นยนต์ได้ ทำให้บุคคลรู้สึกว่าหุ่นยนต์มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความไว้วางใจรวมถึงการยอมรับหุ่นยนต์คำสำคัญ: ทฤษฎี S-E-E-K ความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์ การรับรู้การควบคุมได้ ความเหมือนมนุษย์ ความไว้วางใจ การยอมรับ หุ่นยนต์This research aimed to investigate the effect of perceived anthropomorphism toward trust and acceptance in robots based on S-E-E-K theory; physical appearance similarity as independent variable, perceived of controllability as moderator and social motivation as controlled variable. Sample of 200 undergraduate and postgraduate students, aged between 18-25 years old were systematic and simple randomly assigned to one out of four conditions which were manipulated by a picture and a short description of the robot. The robots of each condition were designed to have different appearance (humanlike and not humanlike) and also behavior (predicted/controlled and not predicted/controlled). Afterward, participants completed the perceived anthropomorphism, trust in robot, acceptance in robot questionnaires. Results from Paths analysis showed that physical appearance similarity had relationship with a statistically significant on anthropomorphism. The effect of physical appearance similarity increased in the condition of unpredicted and uncontrollable robot. Furthermore, robot with highly humanlike appearance with unpredicted and uncontrolled behavior had the effect on participants’ feeling and it also increased trust and acceptance toward robots.Keywords: S-E-E-K Theory, Physical Appearance Similarity, Controllability, Anthropomorphism, Trust, Acceptance, RobotsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-05-13
How to Cite
วรเมธพาสุข ก., & อิศรานนท์ ห. (2021). อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์และการรับรู้การควบคุมได้ที่มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความเชื่อใจ และการยอมรับต่อหุ่นยนต์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(24, July-December), 1–14. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13523
Issue
Section
บทความวิจัย