การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดนิสัยรักการอ่าน วัดนิสัยรักการอ่านก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบ และใช้แบบบันทึกการอ่านประเภทต่าง ๆ ประเมินพัฒนาการในแต่ละระยะระหว่างการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีหลักการ 3 ประการ คือ 1) การให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการอ่าน ตั้งเป้าหมายและวางแผนการอ่านตามความสนใจ และคัดเลือกบทอ่านและกลยุทธ์ในการอ่านที่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนสมัครใจและกระตือรือร้นที่จะอ่าน อ่านอย่างเข้าใจและผูกพันต่อการอ่าน 2) การให้ผู้เรียนควบคุมการอ่านด้วยตนเองและช่วยกันอ่านร่วมกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการอ่านได้ 3) การประเมินผลการอ่านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สามารถจูงใจให้อ่านได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนอ่านได้อย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตั้งเป้าหมายตามความสนใจ ขั้นวางแผนอ่านให้เหมาะสม ขั้นชื่นชมเมื่ออ่านได้ และขั้นชวนให้สะท้อนคิด 2. เมื่อใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างแล้ว พบว่า 1) นิสัยรักการอ่านของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการของนิสัยรักการอ่านใน 4 ระยะของการทดลอง โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี Scheffe พบว่า นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการจากการวัดนิสัยรักการอ่านครั้งหลังสูงกว่าครั้งก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพัน การเรียนรู้แบบนำตนเอง นิสัยรักการอ่าน The purposes of this study were to develop and study effectiveness of an instructional model using the engagement-based learning and teaching and self-directed learning for enhancing reading habit of seventh grade students. The sample was drawn by using purposive sampling totaled 33 seventh grade students of a large school in Ang Thong Province. The instruments for collecting data were a reading habit evaluating test before, during, and after implementing as well as various types of reading record forms for evaluating development in each phase of implementing this model. Data were analyzed by the Arithmetic Mean, the standard Deviation, and t-test dependent, one-way repeated measure, Scheffe’s test. The finding revealed that 1. A developed instructional model has 3 principles; 1) Students should be motivated to analyze their reading needs, set their reading goals, planning and choosing to read preferably in a relation to their lives, experiences and knowledge by using suitable reading strategies. Consequently, they will read voluntarily and eagerly with better understanding and reading engagement. 2) Self-reading control and cooperation of good companies encouraged students to help each other for achieving their reading goals. 3) Reading evaluation should be used as a part of instructional tools for motivating students to read continuously and reach their reading goals. The instructional model consisted of 4 steps: setting goal according to ones’ preferences, planning appropriately to read, admiring the reading successfulness, and reflecting encouragement. 2. The effectiveness of this instructional model was investigated by implementing it in the classroom with students of purposive sampling. The finding of this study revealed that: 1) The sampled student’s reading habit was higher after studying through this instructional model at the .05 level of significance. 2) The comparison of the development of reading habit in 4 phases of the experiment analyzed by one-way repeated measurements and Scheffe’s test found that latter student’s reading habits scores were higher than the previous ones with statistical significance at the level of .05 Keywords: The Engagement-Based Learning and Teaching, Self-Directed Learning, Reading HabitDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-30
How to Cite
สัยศรี ง., คงเผ่า ว. ว., & สกลรักษ์ ส. (2020). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(23, January-June), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12687
Issue
Section
บทความวิจัย