ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาจากมุมมองนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษา และ 2) สร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาจากมุมมองนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์ 3) ทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษา 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่สนับสนุนปัจจัยสำคัญมีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 113 แห่ง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) คุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ความชัดเจนและความต่อเนื่องของนโยบาย การมีส่วนร่วมและกรอบความคิดของตัวแสดงนโยบาย ทรัพยากรการเงิน โครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เครือข่ายความร่วมมือขององค์การ ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์การ ทรัพย์สินทางปัญญา ภาวะผู้นำและการสร้างแรงจูงใจขององค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก และความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การทดสอบตัวแบบ พบว่า ความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก และเครือข่ายความร่วมมือขององค์การ มีผลเชิงบวกทางตรงต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในขณะที่ภาวะผู้นำและการสร้างแรงจูงใจขององค์การ โครงสร้างทางกายภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความชัดเจนและความต่อเนื่องของนโยบาย ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์การ ทรัพยากรทางการเงิน การมีส่วนร่วมและกรอบความคิดของตัวแสดงนโยบายและทรัพย์สินทางปัญญามีผลเชิงบวกทางอ้อมต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษา 4) เงื่อนไขที่สนับสนุนปัจจัยสำคัญมีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ความชำนาญ ความต้องการ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงและวาระดำรงตำแหน่งของผู้บริหาร การส่งต่อนโยบาย ความหลากหลายบุคลากร ประเภทและขนาดของสถาบันอุดมศึกษา ภาวะผู้นำในองค์การ กรอบความคิดของตัวแสดงนโยบาย ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี ข้อจำกัดด้านทรัพยากร การสร้างแรงจูงใจขององค์การ ทรัพยากรทางการเงิน การมีทรัพย์สินทางปัญญา ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และอายุของกลุ่มเป้าหมายคำสำคัญ: คุณภาพการบริการสาธารณะ เทคโนโลยีดิจิทัล สถาบันอุดมศึกษา นโยบายสาธารณะ การจัดการเชิงกลยุทธ์The study was aimed to 1) study qualities of public services with digital technologies of higher education institutions, 2) suggest the model of relationships among the factors affecting qualities of public services with digital technologies of higher education institutions 3) test the model of relationships among the factors affecting qualities of public services with digital technologies of higher education institutions, and 4) analyze the conditions supporting the factors affecting qualities of public services with digital technologies of higher education institutions. This was a quantitative and qualitative research. Data were collected from 113 higher education institutions and in-depth interview with 5 administrators of higher education institutions and Office of the Higher Education Commission. Data were analyzed using descriptive statistics, inferential statistics and content analysis.Research findings were as follows:1) qualities of public services with digital technologies of higher institutions were at moderate level, 2) the proposed determinants affecting the qualities of public services with digital technologies of higher education institutions comprised the followings: clarity and continuity of policy, participation and mindset of policy actors, financial resource, digital technology infrastructure, coordination network, digital technology and digital technology management knowledge and skill, intellectual property, leadership and motivation, relationships among the organizations with external environments and digital technology readiness of target groups 3) it was found from the determinants test that the readiness of targets on digital technology, relationships among the organizations with external environments and coordination network had direct positive effect on qualities of public services with digital technologies of higher education institutions, while leadership and motivation, digital technology infrastructure, clarity and continuity of policy, digital technology and digital technology management knowledge and skill, financial resource, participation and mindset of policy actors, and intellectual property had indirect effect on qualities of public services with digital technologies of higher education institutions. 4) conditions which supported the factors affecting qualities of public services with digital technologies of higher education institutions were skillfulness, demand, vision of administrators, tenure and transition of administrators, policy alignment, diversity of officers, type and size of higher education institutions, leadership, mindset of policy actors, technology cost,resource limitation, motivation,financial resource, intellectual property ownership, limitation of copyright and intellectual property violation, change resistance, and age of target groups.Keywords: Qualities of Public Service, Digital Technologies, Higher Education Institutions, Public Policy, Strategic ManagementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-27
How to Cite
ศิริวรรณ ล. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาจากมุมมองนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 175–195. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12104
Issue
Section
บทความวิจัย