ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (FACTORS INFLUENCED ON PHYSICAL MOVEMENT OF FACULTY OF PHYSICAL EDUCATION STUDENT AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY)

Authors

  • พิมพา ม่วงศิริธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 6 สาขาวิชา ได้แก่ พลศึกษา สุขศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา สันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวนทั้งหมด 59 ข้อ ซึ่งถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก) ที่ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปร ปรวนแบบทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี และวิเคราะห์ปัจจัยโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 29.30 โดยใช้เวลาใน การออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาทีต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.50 และระดับความหนักที่ใช้ในการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยวัดจากอัตราชีพจรที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 36.00 2) ผลการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่าง กายของนิสิตคณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ และนิสิตที่เรียนสาขาวิชาต่างกันมีการเคลื่อนไหวร่างกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอยู่ในระดับมาก (x = 4.06, S.D. = 0.43) โดยพบว่า นิสิตคณะพลศึกษามีการเคลื่อนไหวร่างกายอันเนื่องมาจากปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน) อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.27, S.D. = 0.46) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก) อยู่ในระดับมาก (x = 3.76, S.D. = 0.60) 4) ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า ปัจจัยพื้นฐานมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตชายแตกต่างกับนิสิตหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตที่เรียนสาขาวิชาต่างกันและนิสิตที่มีลักษณะของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ปัจจัยพื้นฐานด้านแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านการสนับสนุนของครอบครัว การสนับสนุนของคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การมีกลุ่ม/การเป็นสมาชิกของกลุ่ม และความพร้อมของอุปกรณ์/สถานที่ สามารถร่วมกันพยากรณ์เพื่อจำแนกกลุ่มนิสิตที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายแตกต่างกันได้ร้อยละ 38 โดยปัจจัยพื้นฐานด้านแรงจูงใจในการออกกำลังกาย และปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านการสนับสนุนของครอบครัว การสนับสนุนของคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การมีกลุ่ม/การเป็นสมาชิกของกลุ่ม และความพร้อมของอุปกรณ์/สถานที่สามารถอธิบายการผันแปรการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายได้ระหว่าง 25.05 - 103.17 หน่วย หมายถึงมีการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจนถึงการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างฉับไวเพื่อให้มีสุขภาพดีคำสำคัญ: ปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน)  ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก)  การเคลื่อนไหวร่างกาย  นิสิตThe purpose of this research was to study the factors influenced on physical movement of the faculty of physical education students at Srinakharinwirot University. Subjects were 400 students from faculty of physical education at Srinakharinwirot University from six programs, 1. physical education 2. Health education 3. Health and physical education 4. Recreation 5. Exercise and Sport science and 6. Public Health, were stratified random sampling to take part in the study. The instrument for data collection was the 5 level of rating scale type questionnaire developed and consisted of 59 items under 2 aspects of factors which included the basic (intrinsic) and environment (extrinsic) factors with reliability value of 0.98. Data from the test were analyzed.  The frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, one way analysis of variance, Bonferroni’ s method and stepwise multiple regression were taken into account. The results revealed that: 1) The percentage of physical movement students were respectively exercised for 5 times a week was 29.30, it took 60 minutes or more per time was 36.50, and little change in pulse from resting level was 36.00. 2) The physical movement of the faculty of physical education students at Srinakharinwirot University had significant difference between of gender and different programs at the .05 level. 3) The factors were respectively influenced on physical movement of the faculty of physical education students at Srinakharinwirot University at the high level (X = 4.06, S.D. = 0.43). In the aspects of basic (intrinsic) factor (X = 4.27, S.D. = 0.46) was at the highest level and environment (extrinsic) factor (X = 3.76, S.D. = 0.60) was at the high level. 4) In conclusion, the intrinsic factor influenced on physical movement of the faculty of physical education students at Srinakharinwirot University was significant difference between of gender and the basic (intrinsic)and environment (extrinsic) factors influenced on physical movement of the faculty of physical education students was significant difference between of different programs and characteristics of physical movement at the .05 level, and 5) The exercise of motivation, family support, faculty support, having a group, and exercise equipment and place of readiness could be predicted to operation effectively in the physical movement of the faculty of physical education students at 38.00% at a statistically significant difference at the .05 level. When classified by basic (intrinsic) factor was found that only the exercise of motivation affected to physical movement of exercise and sport science students, similar when classified by environment (extrinsic) factors were found that family support, faculty support, having a group, and exercise equipment and place of readiness affected to physical movement of exercise and sport science students and could be predicted between 25.05 - 103.17 (low active life to active life).Keywords: Basic (Intrinsic) Factors, Environment (Extrinsic) Factors, Physical Movement, Student

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พิมพา ม่วงศิริธรรม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Physical Education, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ม่วงศิริธรรม พ. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (FACTORS INFLUENCED ON PHYSICAL MOVEMENT OF FACULTY OF PHYSICAL EDUCATION STUDENT AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 141–161. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12102