ดนตรีวอญย์แฝะ: ดนตรีในพิธีศพพระสงฆ์มอญในประเทศไทยและประเทศพม่า (WORNFAEH MUSIC : A MON MONK’S FUNERAL MUSIC IN THAILAND AND MYANMAR)

Authors

  • พจณิชา ฤกษ์สมุทร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • มานพ วิสุทธิแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • รุจี ศรีสมบัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดนตรีพิธีวอญย์แฝะของชาวมอญในประเทศไทยและชาวมอญในประเทศพม่า วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกเสียง การบันทึกภาพนิ่งและการบันทึกภาพเคลื่อนไหววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปเป็นอุปนัยและนำเสนอเป็นความเรียงผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมวอญย์แฝะเป็นพิธีกรรมศพพระสงฆ์มอญในประเทศไทยและประเทศพม่าที่มีการบรรเลงดนตรี ร้องเพลงและรำแห่ปราสาทไปพร้อมกันซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองและเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ มีบทร้องพรรณนาถึงความดีของศพพระมอญที่มรณภาพ ซึ่งรูปแบบการแสดงนั้นจะมีเอกลักษณ์ คือ คลอร้องและจะมีทำนองรับ โดยในการบรรเลงนั้นสามารถ เพิ่ม-ลดจังหวะได้ ในแต่ละเพลงมีการปรับเปลี่ยนจากจังหวะช้า-เร็ว มีการเปลี่ยนกลุ่มเสียงในระหว่างเพลงเพื่อไม่ให้เกิดการเบื่อหน่ายและเป็นการผ่อนแรงของผู้แสดงและผู้บรรเลงโดยเริ่มต้นจากคำร้องที่กล่าวบูชา พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ต่างกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า คือ เนื้อร้องภาษามอญของประเทศพม่าจะมีความสละสลวยละเอียดถี่ถ้วนมีความโดดเด่นทางด้านภาษาที่ใช้ร้อง ความสั้นยาวของทำนองที่ใช้บรรเลงต่างกัน ในประเทศพม่าพบเครื่องดนตรีอะหลด (ขลุ่ยไม้ไผ่) บรรเลงในพิธีกรรมวอญย์แฝะแต่ในประเทศไทยไม่ปรากฏเครื่องดนตรีชนิดนี้บรรเลงในพิธีกรรมวอญย์แฝะคำสำคัญ: ดนตรีพิธีกรรมวอญย์แฝะ พิธีศพพระสงฆ์มอญ  แห่ปราสาทThis research study aims at examining the music of the Mon minority in Thailand and in Myanmar. Ethnomusicology has involved extensive work of qualitative research on documenting traditional music. Data were collected by reviewing the related documents, field trip recordings, observations, interviews, recording of still images and movie recordings. The data analyses were performed through interpretations and inductive conclusions.The research found that WORNHFAEH was a ceremony arranged at a ritual funeral of Mon monks in Thailand and Myanmar. Traditional music, consisting of a melody and rhythmic instruments, was played while singing and dancing were performed in a parade. The song lyrics described the benevolence of the monk passing away. The singing was unique as it was accompanied with the chorus, and the modification of fast and slow tempo rhythms. The tone changes occurred as to avoid boredom and to relieve tension of the performers and musicians. The song lyrics described the respect paid to the Buddha, the Dhamma, and the Sangha. The differences of the song lyrics between the Mons in two countries were that the Mon language use in Myanmar was finer and more detailed. The length of tune was also found different. A bamboo flute was found used at the Wornhfaeh rituals by Mons in Myanmar, but not in Thailand.Keywords: Wornfaeh Ritual Music, A Mon Monk’s Funeral, Performed in a Parade

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พจณิชา ฤกษ์สมุทร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒProgram in Ethnomusicology, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

มานพ วิสุทธิแพทย์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDivision of Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

รุจี ศรีสมบัติ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDivision of Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ฤกษ์สมุทร พ., วิสุทธิแพทย์ ม., & ศรีสมบัติ ร. (2019). ดนตรีวอญย์แฝะ: ดนตรีในพิธีศพพระสงฆ์มอญในประเทศไทยและประเทศพม่า (WORNFAEH MUSIC : A MON MONK’S FUNERAL MUSIC IN THAILAND AND MYANMAR). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 128–140. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12101