ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริง ในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประสิทธิผลและความพึงพอใจของการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อเสมือนจริงในเรื่องของการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยสื่อประกอบการเรียนวิธีทำแผลกดทับด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้และทักษะการดูแลแผลกดทับ ความพึงพอใจที่พัฒนาขึ้น โดยจะเก็บข้อมูลก่อน-หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อเสมือนจริง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในเรื่องของแผลกดทับหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อ (คะแนนเฉลี่ย 10.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.96) สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ผ่านสื่อ (คะแนนเฉลี่ย 7.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ 0.000 มีทักษะการปฏิบัติการดูแลแผลกดทับในระดับดี (คะแนนมากกว่าร้อยละ 80) ร้อยละ 68.5 ในระดับความพึงพอใจทั้งในภาพรวมและรายด้านต่อการใช้สื่อเสมือนจริงอยู่ในระดับดีถึงดีมาก จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนที่มีสิ่งเร้า และตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ยังเอื้อต่อการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนิสิตพยาบาลศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้นคำสำคัญ: ประสิทธิผล ความพึงพอใจ สื่อเสมือนจริง การดูแลแผลกดทับ นิสิตพยาบาลศาสตร์This research is quasi-experimental study and has the objective to study the effectiveness and satisfaction of self-learning through virtual media to the pressure injury wound care of 2nd years nursing students, Srinakharinwirot University. The research instrument composed with virtual media to the pressure injury wound care and collect data as personal data, knowledge and skills in pressure sore care assessment and satisfaction assessment form. The 111 subjects were evaluated before and after self-learning through virtual media to the pressure injury wound. The results of this study show that the knowledge of pressure injury wound care after learning through the media (Mean 10.82, S.D. 0.96) is higher than before (Mean 7.57, S.D. 1.30) with significantly difference 0.000 (P = 0.000) and 68.5% of subject have a good skill of pressure injury wound care (score higher than 80%) and have satisfied in the overall and each item of the virtual media with a good to very good level. From the results of this study can conclude that the learning through the teaching materials is stimulated and direct to attention of learners and can learn anywhere, anytime, and can be used to guide on manage teaching to enhance the learning effectiveness of nursing student.Keywords: Effectiveness, Satisfaction, Vital Teaching Media, Pressure Injury, Nursing StudentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-27
How to Cite
จันทร์เอี่ยม ณ., วังทอง ก., พังแก้ว ก., เครือวัลย์ ช., ลายเมฆ ช., เหลนเพชร ป., นุ่มอำ ม., สังชม ศ., & ดวงทอง อ. (2019). ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริง ในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 45–56. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12096
Issue
Section
บทความวิจัย