รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (MODEL OF CREATIVE TOURISM FOR ADDING VALUE IN TOURISM ON LOCAL WISDOM-BASED IN ANG THONG PROVINCE)

Authors

  • ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมของกลุ่มหัตถกรรมจักสานในจังหวัดอ่างทอง ทั้งด้านบริบทของชุมชน สภาพทางกายภาพ วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของพื้นที่ และเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการท่องเที่ยวบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยประธานกลุ่ม ชาวบ้าน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยว โดยการประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรมของกลุ่มหัตถกรรมจักสาน โดยประยุกต์ใช้แบบสำรวจและแบบประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรมจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการผลการศึกษาพบว่า กลุ่มหัตถกรรมจักสานทั้งสองแห่ง มีเอกลักษณ์และคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม ทั้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ คุณค่าทางสังคม คุณค่าด้านการศึกษา คุณค่าด้านจิตวิญญาณ คุณค่าด้านเศรษฐกิจ และคุณค่าด้านความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพื้นที่ ด้านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2) การนำเสนอคุณสมบัติของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 3) การดำเนินการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอ่างทอง โดยเป็นรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยคนในชุมชน ซึ่งทำให้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์คุณค่าของมรดกวัฒนธรรมของชุมชน ขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชน ส่งผลต่อความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณค่าทางวัฒนธรรมThe research has objective to study the identity and cultural significance of cultural heritage of the Handicraft groups in Ang Thong Province both the existing physical conditions, culture and the identity of the area and propose the model of creative tourism for adding value in Tourism on local wisdom-based in Ang Thong Province.The research presents qualitative research method. Data collections were conducted by documentary method, field survey and participant observation the existing physical conditions. This research uses a qualitative research process through in-depth interview from the community leaders, local people, the entrepreneur and the stakeholders. Evaluates the cultural significance of using the field survey form and evaluation form which had been designed by academic acceptance.The study results discovered that the cultural significance of the Handicraft groups has value of cultural significance as Historic value, Aesthetic value, Social value, Scientific Value/Education Value, Economic Value, Spiritual Value, and Rarity and Unique Value. For the model of creative tourism for Ang Thong province, the researcher has identified three major factors includes, 1) the components of creative tourism such as Creative resources, Creative tourists, Creative activities, Creative locals, and Creative Entrepreneur. 2) The characteristics of creative tourism and, 3) The implementation of creative tourism in Ang Thong province would have done by local people. This model of creative tourism can cross-cultural/transformation experience of tourists and local people. Creative tourism is the way to conserve the local wisdom and cultural significance of the area and also build or create the value- added for the tourism resources to be consistent and sustainable in Economic, Social, Culture and Environment that the aim of Sustainable tourism development.Keywords: Creative Tourism, Local Wisdom, Cultural Significance

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Environmental Culture and Ecotourism, Srinakharinwirot University.

กิ่งกนก เสาวภาวงศ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Environmental Culture and Ecotourism, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

อังกุรวัชรพันธุ์ ฐ., & เสาวภาวงศ์ ก. (2019). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (MODEL OF CREATIVE TOURISM FOR ADDING VALUE IN TOURISM ON LOCAL WISDOM-BASED IN ANG THONG PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 29–42. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10841