ความคิดเห็นและการปฏิบัติของคณาจารย์ในการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในประเทศไทย

Authors

  • กัญญดา อนุวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • อาจรี ศุภสุธีกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • กรัณฑ์รัตน์ สุนทรพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prince of Songkla University.

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและการปฏิบัติของอาจารย์ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ด้วยระบบประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร จำนวน 1,200 คน ที่สังกัดใน 11 มหาวิทยาลัยซึ่งประกาศใช้ระบบ AUN-QA มีผู้ตอบกลับ 625 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 51.3 ผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ มีเป้าหมายในการใช้ AUN-QA คือเพื่อการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร มากกว่าการได้รับการรับรองคุณภาพจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การใช้ AUN-QA ทำให้อาจารย์ใช้หลักการของการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์และวงจรคุณภาพในการจัดการศึกษามากขึ้น ผู้บริหารทุกระดับส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา แต่ความเข้าใจและการสนับสนุนที่จำเป็นในด้านคุณภาพจากผู้บริหารและอาจารย์ยังอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าระบบ AUN-QA มีความเหมาะสมต่อการใช้งานกับหลักสูตรในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตรในระดับสากล การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของการจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ AUN-QA และบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นต่อการนำเกณฑ์ สาระของ AUN-QA ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จคำสำคัญ: ประกันคุณภาพการศึกษา  เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน  ทปอ.  การจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์The objective of this study is to explore the viewpoints and practice of academic staff on the use of ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) at a program level. Data were collected from 1,200 academic staff of 11 Thai universities which have implemented AUN-QA using a questionnaire. A total of 625 staff responded to the survey, yielding a response rate of 51.3%. The results suggested that the goal of AUN-QA implementation was the improvement in education quality rather than the AUN certification. The use of AUN-QA resulted in the increased application of Outcome-Based Education (OBE) and Quality cycle (PDCA) in education by the staff. Most administrators of all levels participated in QA activities, but the administrators’ and staff’s understanding and necessary supports were moderate. Most responders considered AUN-QA appropriate to Thai education context and aligned with Thai Qualifications Framework, and would lead to future quality improvement towards international standard. The continuous increase in the understanding of concept and practice of OBE, AUN-QA, and roles and responsibilities of all parties inside the university was necessary to the success of AUN-QA implementation.Keywords: Quality Assurance, ASEAN University Network, CUPT, Outcome-Based Education

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กัญญดา อนุวงศ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาเภสัชกรรมสังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Social Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University.

อาจรี ศุภสุธีกุล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Srinakharinwirot University.

วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒGraduate School, Srinakharinwirot University.

กรัณฑ์รัตน์ สุนทรพันธ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prince of Songkla University.

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

อนุวงศ์ ก., ศุภสุธีกุล อ., อยู่ในศิล ว., & สุนทรพันธ์ ก. (2019). ความคิดเห็นและการปฏิบัติของคณาจารย์ในการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 1–16. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10839