รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ: โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงสมการกำลัง 2 ลำดับที่ 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 (R:1) การศึกษารูปแบบ (Best Practices) และระยะที่ 2 (D:1) การพัฒนารูปแบบ (Feasibility) เพื่อให้ได้ต้นแบบสำหรับการแก้ไขปัญหา (Prototype Solution) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 (R:2) การทดลองใช้รูปแบบ (Try Out) เพื่อเปรียบเทียบอัตราพัฒนาการระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง และระยะที่ 4 (D:2) การปรับปรุงรูปแบบและการนำไปใช้แก้ไขปัญหาขั้นสุดท้าย (Final Solution) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำและแบบสอบถาม ประชากรคือ นักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ โรงเรียนทหารราบ จำนวน 1,097 คน สุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และ Cronbach’s alpha คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window การวิเคราะห์ข้อมูล 2nd Order Quadratics LGM สถิติที่ใช้ Chi-square Relative Chi-square Degree of freedom RMSEA CFI TLI SRMR Wald test ค่าเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้น ค่าเฉลี่ยอัตราพัฒนาการ ค่าเฉลี่ยอัตราเร่งอัตราพัฒนาการ ค่าความแปรปรวนเมื่อเริ่มต้น ค่าความแปรปรวนอัตราพัฒนาการ ค่าความแปรปรวนอัตราเร่งอัตราพัฒนาการ ค่าความแปรปรวนร่วมอัตราพัฒนาการกับค่าเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้น ค่าความแปรปรวนร่วมอัตราเร่งอัตราพัฒนาการกับค่าเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้น ค่าความแปรปรวนร่วมอัตราเร่งอัตราพัฒนาการกับอัตราพัฒนาการ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Mplus และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีองค์ประกอบที่ควรพัฒนารวม 6 ด้านคือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การกล้าแสดงออก การกล้าตัดสินใจ ความภาคภูมิใจในตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยใช้กระบวนการกลุ่มและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (2) การทดลองใช้รูปแบบ ในห้วงแรกของการทดลองกลุ่มทดลองมีอัตราพัฒนาการเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมทั้ง 6 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีอัตราพัฒนาการลดลงในห้วงท้ายของการทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอัตราพัฒนาการลดลงอย่างต่อเนื่อง (3) การประเมิน 2nd Order Quadratics LGM มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี และ (4) สรุปได้ว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพในห้วงระยะเวลาสั้นๆคำสำคัญ: คุณลักษณะผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเองThis research was aimed to develop model of leaders’ self-confidence traits of non-commissioned student infantry crop. The research methodology is a mixed method. The research design was divided into 4 phases: the 1st phase (R: 1) to study the theory of leaders’ self-confidence trait and to develop model (Best practices). the 2nd phase (D:1) was the development model of development leaders’ self-confidence traits (Feasibility) for Prototype solution by using qualitative research and the research tools were interviewing, Observation and focus group. The 3rd phase (R: 2) was an experiment of using model (try out) to compare the growth rate between the control group and experimental group, and the 4th phase (D: 2) was a model improvement and implementation (final solution) by using quantitative research and the research tools by using model of development self-confidence leaders’ traits (Prototype) and questionnaire. The populations were 1,097 students of army non-commissioned, infantry corps, Infantry School. The samples were 70 students derived from the sampling method by G*Power statistical computer program and divided into 2 groups as control group for 35 samples and experimental group for 35 samples. The quantitative data was statistically analyzed by frequency, percentage, means, standard deviations, variances and Cronbach’s alpha using SPSS for Window and 2nd order quadratics LGM statistically analyzed by Chi-square, Relative Chi-square, Degree of freedom, RMSEA, CFI, TLI, SRMR, Wald test, intercept means, slope means, quadratics means, intercept variances, slope variances, quadratics variances, slope-intercept co-variances, quadratics-intercept co-variances and quadratics-slope co-variances using by Mplus computer program and the qualitative data was the content analysis.The results found that (1) model of leaders’ self-confidence traits were 6 components to develop; Self-Efficacy, assertiveness, decisiveness, self-esteem, optimism, and adaptability for working environment by group process and relationship group activities, (2) In first period the experiment of using model of leaders’ self-confidence traits found that the growth rate of self-confidence leaders’ traits of experiment group was higher increased than the control group in all 6 components at the significant level of .05 but the growth rate decrease in the end (3) the evaluation of model development of self-confidence leaders’ traits by 2nd order quadratics LGM was harmonized with the empirical data. And (4) the research can be concluded that the development model can be able to solve the problem of lacking of student’ self confidence effectively in short time.Keywords: Leaders’ Characteristic, Self-ConfidenceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-21
How to Cite
นิติวิทยากุล เ. (2018). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ: โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงสมการกำลัง 2 ลำดับที่ 2. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 217–234. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10528
Issue
Section
บทความวิจัย