ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเมจิ (STRATEGIES OF ACADEMIC COLLABORATION REFLECTING UNIVERSITY’S IDENTITY: A CASE STUDY OF MEIJI UNIVERSITY)
Abstract
ในปัจจุบันยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษามีความสำคัญมากสำหรับภาคการศึกษา เนื่องจากเป็นวิธีการหนึ่งที่สถาบันการศึกษาสามารถใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาผ่านความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการศึกษาระหว่างสถาบันหรือหน่วยงานทางการศึกษา ตลอดจนองค์กรในภาคส่วนอื่นๆ ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ และการดำเนินการในการสร้างและการขยายความร่วมมือทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเมจิกับประเทศต่างๆ รวมทั้งกับประเทศไทย และเพื่อนำเสนอหลักการและแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของตนเองให้กับมหาวิทยาลัยของไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเมจิ จำนวน 15 คน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศหรือฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัย 5 แห่งของไทย จำนวน 8 คน ตลอดจนนักวิชาการและนักการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเมจิ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นและรายละเอียดเชิงลึกผู้บริหารมหาวิทยาลัยเมจิ และแบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักการศึกษาและนักวิชาการของประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาและการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) มหาวิทยาลัยต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเมจิและมหาวิทยาลัยของไทยกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษาบนพื้นฐานอัตลักษณ์ของตนเองภายใต้ปรัชญา วิสัยทัศน์ และเป้าหมายทางการศึกษา รวมไปถึงแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย โดยอาจจะมีการพิจารณานโยบายของภาครัฐร่วมด้วย 2) รูปแบบกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภาพรวมจะประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและบุคลากร การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ 3) มหาวิทยาลัยควรมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบันและอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง มีหน่วยงานขับเคลื่อน และให้โอกาสบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ภาครัฐและภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนที่เหมาะสมและต่อเนื่องคำสำคัญ: ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางการศึกษา อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยCurrently strategies of academic collaboration apparently play an important role in the education sector as they are one of the more efficient methods for educational institutions to improve quality of education through cooperation as well as exchanging knowledge with either educational institutions or other organizations. Academic collaboration can be promoted in the forms of both bilateral and multilateral, and domestic or international settings. The purposes of this research were to study the principles and approaches by which Meiji University determines the strategies of academic collaboration reflecting the university’s identity and develops the collaboration based on those strategies with overseas universities including Thailand; and to propose appropriate principles and approaches by which Thai universities can determine and develop strategies of academic collaboration which well reflect their own identities. The sample groups of this qualitative research were: 15 Meiji University executives, professors and officers; 8 assistants to the president and officers of international affairs or international relations division from 5 universities in Thailand; 5 academics and educationalists from the Office of the Higher Education Commission and the Office of the Education Council. The research tools consisted of documents and related on-line information, the interview forms for Meiji University’s officers and the in-depth interview forms for Meiji University’s executives, and the questionnaire forms for Thai academics and educationalists. The data were analyzed using percentage and data analysis. The research findings showed that: 1) Overseas universities, Meiji University and Thai universities determine academic collaboration strategies based upon their own institutional identities; that include university philosophy, vision, policy, and educational goals including overall administration. In some cases, government policies are also taken into account; 2) Most universities share the common forms of collaboration activities, which consist of research, student exchanges, faculty and staff exchanges, instructional collaboration and academic services; 3) Universities should promote well-planned and well-grounded academic collaboration strategies based upon university identities. In addition, universities should establish the departments in charge of the collaboration as well as effective ways of brainstorming and work collaboration to determine the most appropriate strategies. Moreover, adequate long-term support from both government and private sectors is also inevitably essential.Keywords: Strategy, Academic Collaboration, University IdentityDownloads
Download data is not yet available.
Published
2018-08-21
How to Cite
ตั้งศิริธงชัย ว., & ปิลันธนานนท์ น. (2018). ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเมจิ (STRATEGIES OF ACADEMIC COLLABORATION REFLECTING UNIVERSITY’S IDENTITY: A CASE STUDY OF MEIJI UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 201–216. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10527
Issue
Section
บทความวิจัย