ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี (FACTORS PREDICTING FOR PRETERM LABOUR OF TEENAGE PREGNANT WOMEN AT PRAPOKKLAO CHANTHABURI HOSPITAL)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคลอดก่อนกำหนด และสร้างสมการพยากรณ์การคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่คลอดที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีซึ่งมีอายุ 10-19 ปี ได้ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 199 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม (Binary Logistic Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระ 2 ปัจจัยหลัก คือปัจจัยด้านมารดา และปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อน สามารถอธิบายความผันแปรของการคลอดก่อนกำหนดได้ร้อยละ 27.00 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่คลอดที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 4 ด้าน ได้แก่ อาชีพ เขตที่อยู่อาศัย จำนวนครั้งที่ฝากครรภ์ และการมีภาวะแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรม อายุรกรรมและเป็นผู้ป่วยในเมื่อควบคุมความผันแปรของตัวแปรที่เหลือทั้งหมด หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ รับจ้างมีโอกาสของการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ากรณีที่ไม่ได้ทำงาน 0.108 เท่า ด้านเขตที่อยู่อาศัย หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล มีโอกาสของการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ามารดาที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล 2.440 เท่า ด้านจำนวนครั้งที่ฝากครรภ์ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีการฝากครรภ์เพิ่มขึ้น 1 ครั้ง มีโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด ลดลง 0.267 เท่า ด้านการมีภาวะแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรม อายุรกรรมและเป็นผู้ป่วยใน ถ้าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรม อายุรกรรมและเป็นผู้ป่วยในจะมีโอกาสของการคลอดก่อนกำหนดจะสูงกว่าผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางนรีเวชกรรม อายุรกรรมและไม่ได้เป็นผู้ป่วยใน 2.843 เท่าคำสำคัญ: ปัจจัยกำหนด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จันทบุรีThe objectives of this research were to study factors influencing and develop predictive equation model for preterm labour of teenage pregnant women at Prapokklaol Chanthaburi hospital by using secondary data from the Prapokklao hospital in Chantaburi during October 2013 to September 2014. The sample are teenage pregnant women who maternal antenatal care age 14-19 years and birth at the Prapokklao hospital in Chantaburi.The sample are 199, analyze by descriptive statistics and inferential statistics ,Binary logistic regression at 0.05 significance level. The results showed that two main factors independent variables, maternal factors and complication factors can explained the variation of preterm labour of teenage pregnant women 27.00 percent. In addition, factors influencing for preterm labour of teenage pregnant women at 0.05 significant level there are 4 items, Include as occupation, residential area, number of antenatal visits and gynecological complications., internal medicine and impatient.When controlling the variance of all variables. Teenage pregnant women who work in gardening and hiring is more preterm labor than who unemployed 0.108 times. Teenage pregnant women who live outside the municipality more preterm labor than teenage pregnant women living in the municipality 2.440 times. Teenage pregnant women with antenatal care increased one more time, the chances of preterm labour decreased 0.267 times. Teenage pregnant women with gynecological complications, internal medicine and impatient is more preterm labor than who gynecological complications, internal medicine and non-impatient 2.843 times.Keywords: Factors Predicting, Preterm Labour, Teenage Pregnant Women, ChanthaburiDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-21
How to Cite
ธรรมเจริญ ว., เจริญงาม น., & โชติดิลก ญ. (2018). ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี (FACTORS PREDICTING FOR PRETERM LABOUR OF TEENAGE PREGNANT WOMEN AT PRAPOKKLAO CHANTHABURI HOSPITAL). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 188–200. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10526
Issue
Section
บทความวิจัย