การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย (COMMUNITY MANAGEMENT MODEL FOR CHIANG RAI SPECIAL ECONOMIC ZONE)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการชุมชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ปัญหาการบริหารจัดการชุมชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และพัฒนารูปแบบ การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้นำชุมชนและประชาชนจากอำเภอในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย คือ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ และใช้การเลือกแบบเจาะจงมาอำเภอละ 15 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน 5 คน และประชาชน 10 คน รวมทั้งหมด 45 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การจัดสนทนากลุ่มแยกเป็นแต่ละอำเภอ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหาการบริหารจัดการชุมชน ใช้การสำรวจและสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้นำชุมชนและประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย จำนวน 454 คน และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและหาค่าสถิติพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนกลุ่มเป้าหมายประกอบ ประชาชน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชนและ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารจัดการชุมชนของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย จะเน้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์รวมทั้งกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวและเรียนรู้การเข้ามาส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว ธุรกิจการค้า การบริการ และการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น สำหรับปัญหาในภาพรวมของการบริหารจัดการชุมชนยังเป็นประเด็นทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพมากกว่าประเด็นอื่น ส่วนใหญ่ ได้แก่ ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็นและการวางแผนที่ไม่ชัดเจนรวมทั้งความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณ และได้มีการนำข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวคิดในการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการชุมชนเพื่อการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายที่เรียกว่า ECONOMICS Model ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ และการใช้แนวคิดการบริหารแบบ POLC มาใช้ในการดำเนินงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลคำสำคัญ: การบริหารจัดการชุมชน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย รูปแบบการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนThe objectives of this study were to examine the state of community management in Chiang Rai Special Economic Zone, to investigate the problems of community management in Chiang Rai Special Economic Zone, and to develop a model to promote community management for Chiang Rai Special Economic Zone. The study was sectioned into 3 stages. Stage 1 was examining the state of community management in Chiang Rai Special Economic Zone. The samples were 45 participants (15 community leaders and 30 residents). That is, 5 community leaders and 10 residents were selected by purposive method from each of the three districts in Chiang Rai Special Economic Zone (Mae Sai district, Chiang Saen district, Chiang Khong district). The focus group discussion was used to collect the data in all 3 districts and content analysis was used to analyze the data. Stage 2 was investigating the problems in community management. The data collection used informal survey and interview. The samples were 454 community leaders and residents in Chiang Rai Special Economic Zone. The questionnaire and interview were used in data collection while content analysis and descriptive statistics were used in analyzing the data. Stage 3 was the development of a community management model. The samples were 20 participants including residents, community leaders, government officials, private sectors, and scholarly experts. The data collection used focus group discussion and content analysis was used in data analysis.The study found that the state of community management in Chiang Rai Special Economic Zone mainly focused on developing the physical infrastructure for business benefits and stimulating the community awareness and learning to be part of tourism management, trading, servicing, maintenance and transmission of local wisdom which is the unique characteristics of the local community. The overall problems in community management mainly involved physical infrastructure rather than other issues. That is, people did not have the chance to participate and share their ideas in the community management.Another problem also involved unclear budget planning and inappropriate budget distribution. The results on state and problems in community management were used to develop the community management model for Chiang Rai Special Economic Zone (CR-SEZ) entitled ECONOMICS Model consisting of 9 components. Also, the POLC management model was proposed for implementation and operation of the developed community management model for Chiang Rai Special Economic Zone as mandated by the government policy.Keywords: Chiang Rai Special Economic Zone, Community Development, Community Management ModelDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-21
How to Cite
แก้วศรี ภ. (2018). การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย (COMMUNITY MANAGEMENT MODEL FOR CHIANG RAI SPECIAL ECONOMIC ZONE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 140–155. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10523
Issue
Section
บทความวิจัย