การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของครัวเรือนและความอยู่ดีมีสุขระดับปัจเจกบุคคล: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของครัวเรือนและความอยู่ดีมีสุขระดับปัจเจกบุคคลเจาะจงกรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ใช้ข้อมูลปฐมภูมิโดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน การศึกษานี้ใช้ Generalized Order Logit พบว่าขนาดของครัวเรือน จำนวนบุตร เพศหญิง อายุ รายได้สูง สุขภาพที่ดี การมีงานทำ มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ คือ ความรู้สึกว่าตนเองมีหนี้สินมาก เมื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ แล้วนั้นจะสามารถนำไปเป็นข้อมูลที่สำคัญในการเตรียมพร้อมต่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์และใช้ในการค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ จากผลของการศึกษานี้จึงเสนอแนะให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับขนาดของครัวเรือนและการมีบุตรหลาน ผลักดันให้ครอบครัวมีบุตรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะคู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานหรือยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตร นอกจากนั้นสมาชิกในครอบครัวควรกลับมาอยู่บ้านกับผู้สูงอายุ ให้ความเข้าใจและความเคารพนับถือแก่ผู้สูงอายุ เอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุบนพื้นฐานของความรักและความกตัญญูคำสำคัญ: ขนาดของครัวเรือน ความอยู่ดีมีสุข ผู้สูงอายุThis study aims to analyze the relationship between household size and individual subjective well-being in the case study of elderly in Bangkok who are 60 years old or older. Primary data were collected through questionnaires from 400 elderly persons. This study applied Generalized Order Logit and found that household size, the number of children, female, age, high income, good health and having a job were positively correlated with the subjective well-being of the elderly. The factors that have a negative relationship to the subjective well-being of the elderly were their feeling of having a lot of debt. Knowing the relationship of the factors, it can be used as an important information to prepare for the full integration into the aging society and to figure out the most suitable ways to improve elderly’s well-being. According to the results, this study suggests that the government attaches importance to the size of the household and to the child, and encourages families to have more children particularly for spouses who have just married or are not planning to have children. In addition, family members should stay home with the elderly, understand and give respect to them, and taking care them on the basis of love and gratitude.Keywords: Household Size, Subjective Well-Being, ElderlyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-20
How to Cite
ประไพพานิช ณ. (2018). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของครัวเรือนและความอยู่ดีมีสุขระดับปัจเจกบุคคล: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 46–58. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10515
Issue
Section
บทความวิจัย