การบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ADMINISTRATION OF WORLD HERITAGE AREA IN AYUTTHAYA PROVINCE OF AYUTTHAYA CITY MUNICIPALITY ACCORDING TO THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ และ (4) ตัวแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและการวิจัยเชิงคุณภาพเสริม โดยการวิจัยเชิงปริมาณนั้น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามได้ค่า IOC ที่ระดับ 0.94 และค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม ได้ค่าครอนบาคที่ระดับ 0.96 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา รวม 1,087 คน เก็บรวบรวมข้อมูลสนามระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ธันวาคม 2558 โดยได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมารวม 976 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.79 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญ คือ ผู้บริหารเทศบาลบางส่วนไม่ได้ใช้ความคิด ความรู้ และความสามารถของตนเองอย่างมากเพียงพอในการจัดระเบียบร้านค้าในพื้นที่มรดกโลก (2) แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ ผู้บริหารเทศบาลควรใช้ความคิด ความรู้ และความสามารถของตนเองเพิ่มมากขึ้นโดยดำเนินการจัดระเบียบร้านค้าด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญ คือ การที่ผู้บริหารของเทศบาลมีภาวะความเป็นผู้นำสูง เช่น กล้าริเริ่ม กล้าคิด และกล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวมในการจัดระเบียบร้านค้าในพื้นที่มรดกโลก และ (4) ตัวแบบการบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงควรประกอบด้วย 8 ด้าน โดยเน้นด้านการสร้างเครือข่าย ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการรวมกลุ่ม ด้านความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการเสริมสร้างคนให้มีความรู้และคุณธรรม ด้านภูมิคุ้มกัน และด้านการพึ่งตนเอง ตามลำดับคำสำคัญ: การบริหารจัดการ พื้นที่มรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงObjectives of this research were to study (1) problems of administration of world heritage areas in Ayutthaya Province of Ayutthaya City Municipality according to the Sufficiency Economy Philosophy, (2) development guidelines for administration of world heritage areas in Ayutthaya Province of Ayutthaya City Municipality according to the Sufficiency Economy Philosophy, (3) critical factors for successful administration of world heritage areas in Ayutthaya Province of Ayutthaya City Municipality according to the Sufficiency Economy Philosophy, and (4) administrative model of world heritage areas in Ayutthaya Province of Ayutthaya City Municipality according to the Sufficiency Economy Philosophy.Research methodology this research was a mixed method research using quantitative research as main means and supported by qualitative research. Quantitative research used questionnaire with validity check at 0.94 level and reliability check at 0.96 level for field data collection from September 1 to December 31, 2014. Total samples were 1,087 residents in 10 sub-districts of Ayutthaya City Municipality. Total 976 sets of completed questionnaires were collected, representing 89.79% of all samples. Statistics used were mean, standard deviation, multiple regressions, and Pearson’s correlation. The in-depth interviews of 9 experts were done by structured in-depth interview form for qualitative information.Research findings revealed that (1) the significant administrative problem was the Municipality Executives had not applied their ideas, information, and administrative capacities for vendor ordering in the world heritage areas; (2) the major development guidelines was the Municipality Executives should inclusively apply their ideas, information, and administrative capacities for vendor ordering in the world heritage areas as well as intensively supervise the implementation; (3) the major success factor was the Municipality Executives should have leadership such as be initiative, be creative, and make good decision based on public interest in vendor ordering in the world heritage areas; and (4) the administrative model according to the Sufficiency Economy Philosophy consisted of 8 aspects, namely, networking establishment, moderation, rationality, cohesiveness, balance and sustainable development, strengthening the qualities of people in both knowledge and morality, self-immunity, and self-reliance.Keywords: Administration, World Heritage Area, Ayutthaya Province, Ayutthaya City Municipality, the Sufficiency Economy PhilosophyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-20
How to Cite
ทองบริสุทธิ์ เ., & วิรัชนิภาวรรณ ว. (2018). การบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ADMINISTRATION OF WORLD HERITAGE AREA IN AYUTTHAYA PROVINCE OF AYUTTHAYA CITY MUNICIPALITY ACCORDING TO THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 20–32. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10513
Issue
Section
บทความวิจัย