อิทธิพลของตัวประสานต่อสมบัติทางกายภาพของซิลเวอร์เคลย์ที่ใช้ในงานเครื่องประดับ

Authors

  • สุพิชฌา สุพรรณสมบูรณ์ Faculty of Science, Srinakharinwirot University
  • ชนะชัย ตั้งมั่นสุจริต
  • นรุตม์ เขาจารี
  • อโนชา หมั่นภักดี

Keywords:

ซิลเวอร์เคลย์ ตัวประสาน, เซลลูโลส, การขึ้นรูปโลหะผง, สมบัติกายภาพ

Abstract

ซิลเวอร์เคลย์ที่นำมาใช้ในงานเครื่องประดับ ประกอบด้วยผงโลหะเงินที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ตัวประสานและน้ำ งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของตัวประสานต่อสมบัติทางกายภาพของซิลเวอร์เคลย์หลังการเผาซินเตอร์ ในการทดลองได้นำผงโลหะเงินที่มีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 50 ไมครอน ผสมกับตัวประสานชนิดต่างๆ ในตระกูลเซลลูโลส (Cellulose) ได้แก่ ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส (Hydroxypropyl Methyl Cellulose, HPMC) , คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (Carboxymethyl Cellulose, CMC) , เมทิลเซลูโลส (Methyl Cellose, MC) และ ไฮดอรกซีเอทิลเซลลูโลส(Hydroxyethyl Cellulose, HEC) จากนั้นเผาซินเตอร์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที จากการทดลองพบว่า ตัวประสานจำพวกเมทิลเซลลูโลส สามารถผสมกับผงโลหะเงินและปั้นขึ้นรูปได้เหมาะสม ซิลเวอร์เคลย์ที่ใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสเป็นตัวประสาน เมื่อเผาซินเตอร์แล้วจะให้ค่าความหนาแน่นและความแข็งใกล้เคียงกับอาร์ทเคลย์ซิลเวอร์650 ซึ่งเป็นซิลเวอร์เคลย์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ยังมีเปอร์เซนต์การหดตัวเชิงปริมาตรค่อนข้างสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2010-07-03

How to Cite

สุพรรณสมบูรณ์ ส., ตั้งมั่นสุจริต ช., เขาจารี น., & หมั่นภักดี อ. (2010). อิทธิพลของตัวประสานต่อสมบัติทางกายภาพของซิลเวอร์เคลย์ที่ใช้ในงานเครื่องประดับ. Science Essence Journal, 26(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/928