การประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรไทยสิบเอ็ดชนิด

Authors

  • วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • พรชัย เปรมไกรสร

Keywords:

สมุนไพรไทย, ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ, สารหมู่ฟีนอล

Abstract

สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยหลายชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของใบสดพืชสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ หูกวาง (Terminalia catappa) กำจาย (Caesalpinia decapetala) หว้า (Syzygium cumini) ดันหมี (Gonocaryum lobbianum) พิกุล (Mimusops elengi) เทียนกิ่ง (Lawsonia inermis) พุดจีบ (Tabernaemontana divaricata) น้อยโหน่ง (Anona recticulata) คงคาเดือด (Arfeuillea arborescens) ตีนเป็ดฝรั่ง (Crescentia alata) และ สำมะงา (Clerodendrum inerme) นำมาทำการสกัดด้วย 80% เมทานอลในน้ำโดยปริมาตร แล้วนำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH (2,2-diphenyl-1-picryhydrazyl) radical scavenging พบว่ามีค่า EC50 เท่ากับ 38.31, 39.91, 58.18, 126.00, 146.48, 267.00, 417.11, 664.56, 2010.24, 7313.61 และ 7819.00 µg/ml ตามลำดับ ส่วนการหาปริมาณหมู่ฟีนอลโดยใช้ Folin–Ciocalteu reagent ได้ค่า GAE (gallic acid equivalent) เท่ากับ 3.75, 5.23, 2.39, 1.79, 2.78, 1.27, 0.76, 2.65, 0.41, 0.16 และ 846.00 mg, gallic acid/100 mg, wet samples ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ยังได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณหมู่ฟีนอลของพืช 6 ชนิด ได้แก่ หูกวาง กำจาย หว้า ดันหมี พิกุล และเทียนกิ่ง พบว่าพืชเหล่านี้มีปริมาณสารฟีนอลสูงจะมีแนวโน้มที่จะมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงตามไปด้วย (r = -0.750, p < 0.05) ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งให้สารต้านอนุมูลอิสระแหล่งใหม่ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งและน่าจะนำมาศึกษาหาสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2010-07-03

How to Cite

วสุพงษ์พันธ์ ว., & เปรมไกรสร พ. (2010). การประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรไทยสิบเอ็ดชนิด. Science Essence Journal, 26(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/927