ผลของการใช้ไฮโดรเจนคอลลอยด์ทดแทนไตรโพลีฟอสเฟตต่อคุณสมบัติทางกายภาพและประสาทสัมผัสของไส้กรอกหมูแบบอิมัลชัน
Keywords:
ไส้กรอกหมูแบบอิมัลชัน, คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส, คาร์ราจีแนน, กัวร์กัม, แซนแทนนัมAbstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการทดแทนสารประกอบไตรโพลีฟอสเฟตในการผลิตไส้กรอกหมูแบบอิมัลชันด้วยไฮโดรคอลลอยด์ 5 ชนิด ได้แก่ CMC3285 CMC3295 คาร์ราจีแนน กัวร์กัม และแซนแทนกัม ปริมาณร้อยละ 0.50 ของส่วนผสมทั้งหมด การประเมินคุณภาพทางด้านสี (L*,a*,b*) เนื้อสัมผัส (ความแข็ง การเกาะตัว การคืนตัว แรงที่ใช้ในการเคี้ยว และพลังงานที่ใช้ในการเคี้ยว) และการยอมรับทางประสาทสัมผัส (ด้านสี กลิ่นรส ความชุ่มฉ่ำ ความแน่นเนื้อ และการยอมรับโดยรวม) พบว่าสามารถใช้ CMC3295 ทดแทนสารประกอบฟอสเฟตในการผลิตไส้กรอกหมูแบบอิมัลชันได้ เมื่อพิจารณาจากคุณภาพด้านสี เนื้อสัมผัส และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
วัฒนพาหุ เ., & ดิษฐอุดมโพธิ์ ศ. (2008). ผลของการใช้ไฮโดรเจนคอลลอยด์ทดแทนไตรโพลีฟอสเฟตต่อคุณสมบัติทางกายภาพและประสาทสัมผัสของไส้กรอกหมูแบบอิมัลชัน. Science Essence Journal, 23(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/91
Issue
Section
Research Article