การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง เรื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ของอนุพันธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, การเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์, สถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง, Inquiry learning management, mathematical reasoning, values in mathematics, mathematical problem situations in real lifeAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง เรื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ของอนุพันธ์และเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง เรื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ของอนุพันธ์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.41 และ 2) การเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - - - The Inquiry Learning Management focusing on Mathematical Problem Situations in Real Life on Derivative and Applications of the Derivative to Encourage Mathayomsuksa VI Students’ Reasoning and Values in Mathematics ABSTRACT The purposes of this research were: 1) to compare students’ mathematical reasoning ability before and after obtaining Inquiry Learning Management focusing on mathematical problem situations in real life on derivative and applications of the derivative and compare to the 70 percent criterion, and 2) to compare values in mathematics before and after obtaining Inquiry Learning Management. The experiment group of this study was one classroom of Mathayomsuksa VI students’ (39 students). The Research instruments composed of: 1) the lesson plans for Inquiry Learning Management focusing on mathematical problem situations in real life on derivative and applications of the derivative, 2) the mathematical reasoning ability test, and 3) the values in mathematics questionnaire. The results showed that: 1) The mathematical reasoning ability of Mathayomsuksa VI students after using Inquiry Learning Management focusing on mathematical problem situations in real life on derivative and application of the derivative was statistically higher than before being taught and higher than 70% prescribed criterion with the mean 77.41% at the .05 level of significance. 2)The values in mathematics after obtaining Inquiry Learning Management focusing on mathematical problems situations in real life on derivative and applications of the derivative was higher than before being taught at the .05 level of significance.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
เรืองศรี ส., สุมิรัตนะ ส., & เศวตมาลย์ ฉ. (2017). การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง เรื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ของอนุพันธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Science Essence Journal, 33(1), 231–248. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/8943
Issue
Section
Research Article