คุณค่าทางโภชนาการ สมบัติต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในพืชอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์

Authors

  • รัชนี เพ็ชร์ช้าง

Keywords:

คุณค่าทางโภชนาการ, สมบัติต้านอนุมูลอิสระ, พืชอัตลักษณ์, จังหวัดอุตรดิตถ์, Nutritive value, Antioxidant properties, Endemic plants, Uttaradit province

Abstract

บทคัดย่อ การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ สมบัติต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและ         ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในพืชอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเก็บตัวอย่างพืช 7 ชนิด คือ ทุเรียนหลงลับแล ทุเรียนหลิน ลับแล ลางสาดลับแล ลองกองลับแล กระเทียมน้ำปาด มะขามเปรี้ยวฟากท่าและสับปะรดห้วยมุ่น จากแหล่งปลูกมาวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการตามมาตรฐาน AOAC สมบัติต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRP assayปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu และสารละลายอลูมิเนียมคลอไรด์ พบว่า ค่าพลังงานทั้งหมด 70.25-299.00 kcal/100 g Dry weight (DW) พลังงานจากไขมันทั้งหมด 0.00-67.23 kcal/100 g DW ไขมันทั้งหมด 0.00-7.47 g/100 g DW ไขมันอิ่มตัว 0.00-2.25 g/100 g DW โปรตีน 0.46-9.20 g/100 g DW คาร์โบไฮเดรต 16.33-72.80 g/100 g DW ใยอาหาร 0.31-9.08 g/100 g DW น้ำตาล 13.49-40.60 g/100 g DW โซเดียม 0.87-11.40 mg/100 g DW แคลเซียม 4.17-23.40 mg/100 g DW เหล็ก 0.25 - 2.20 mg/100 g DW เถ้า 0.34-1.93 g/100 g DW และความชื้น 51.69-83.15 g/100 g Fresh weight (FW) โดยพืชที่มีพลังงานทั้งหมด คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล แคลเซียมและเหล็กสูงที่สุดคือ มะขามเปรี้ยวฟากท่า โปรตีนสูงที่สุดคือ กระเทียมน้ำปาด ส่วนสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRP assay พบว่า มีค่า IC50 29.53-148.46 mg/mL, 54.25-138.11 mg TEAC/100 g FW และ 9.68-27.01 mM FeSO4/100 g FW ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดมีค่า 9.54-95.96 mg GAE/100 g FW และ 2.84-18.95 mg QE/100 g FW ตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติและสารต้านอนุมูลอิสระเป็นไปในเชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง-สูง (r2 = 0.408-0.978) --- The Determinations of Nutritive Values, Antioxidant Properties, Total Phenolic and Flavonoid Contents of Endemic Plants in Uttaradit Province ABSTRACT Comparison of nutritional values, antioxidant properties, the total phenolic and flavoniod contents of seven endemic plants in Uttaradit province were studied. The plants chosen were Longlablae durian, Linlablae durian (Duio zibethinus Murr.), Lablae langsad, Lablae longkong (Lansium domesticum Corr.), Numpad gallic (Allium sativum L.), Faktha sour tamarind (Tamarindus indica L.) and Huaimun pineapple (Ananas comosus Merr.), that grown in different regions of Uttaradit province. The nutritive values (with the standard of AOAC methods), antioxidant properties (with DPPH, ABTS and FRP assays), total phenolic and flavonoid contents (with the Folin-Ciocalteu method and aluminum chloride solution) were determined. The results were total calories 70.25-299.00 kcal/100 g Dry weight (DW), calories of total fat 0.00-67.23 kcal/100 g DW, total fat 0.00-7.47 g/100 g DW, saturated fat 0.00-2.25 g/100 g DW, protein 0.46-9.20 g/100 g DW, carbohydrate 16.33-72.80 g/100 g DW, dietary fiber 0.31-9.08 g/100 g DW, sugar 13.49-40.60 g/100 g DW, sodium 0.87-11.40 mg/100 g DW, calcium 4.17- 23.40 mg/100 g DW, iron 0.25-2.20 mg/100 g DW, ash 0.34-1.93 mg/100 g DW and moisture 51.69-83.15 g/100 g Fresh weight (FW). Highest total calories, carbohydrate, sugar, calcium and iron were found in Faktha sour tamarind. Highest protein was shown by Numpad gallic. The antioxidant properties determined by using DPPH, ABTS and FRP assays was found to very form IC50 29.53-148.46 mg/mL, 54.25-138.11 mg TEAC/100 g FW and 9.68-27.01 mM FeSO4/100 g FW, respectively. The total phenolic and flavonoid compounds were 9.54-95.96 mg GAE/100 g FW and 2.84-18.95 mg QE/100 g FW, respectively. Antioxidant properties revealed a positive moderate to middle-high correlation (r2 = 0.408-0.978).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

เพ็ชร์ช้าง ร. (2017). คุณค่าทางโภชนาการ สมบัติต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในพืชอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์. Science Essence Journal, 33(1), 103–116. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/8936