การทำเหมืองข้อมูลของระบบการจัดการเรียนออนไลน์ : กรณีศึกษาของระบบ ATutor
Keywords:
การทำเหมืองข้อมูล อีเลิร์นนิ่ง เอติวเตอร์แอลเอ็มเอสAbstract
การทำเหมืองข้อมูล (data mining) เป็นกระบวนการสร้างความรู้ (knowledge) จากฐานข้อมูลประมวลผลรายการ (transactional database) เพื่อใช้ในการบริหาร การตัดสินใจ และ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทำเหมืองข้อมูลของ ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ATutor โดยกำหนดโจทย์ในการทำเหมืองข้อมูล เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับวิชาที่อยู่ในระบบ ได้แก่ การนำเสนอค่าสถิติของวิชา (statistics) การจัดกลุ่มวิชา (clustering) ว่ามีการใช้งานอยู่ในระดับใด การสร้างโมเดลสำหรับการทำนายระดับการใช้งานของวิชา (classification) และการพยากรณ์การเข้าใช้วิชาจากลักษณะประจำของวิชา (regression) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมด ได้แก่ Pentaho open suit ใช้คอมโพเน้นต์ Data Integration ชื่อ SPOON เพื่อจัดเตรียมข้อมูล บนฐานข้อมูล MySQL โปรแกรม R เพื่อวิเคราะห์สถิติเบื้องต้นสำหรับอธิบายลักษณะข้อมูล และ Weka เพื่อสร้างโมเดลการทำเหมืองข้อมูล ผลการวิเคราะห์นี้สามารถนำไปใช้ในการรายงานสถานะการใช้งาน ATutor ในการจัดการเรียนการสอน ในที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารของหน่วยงานกำหนดกลยุทธ์ สร้างแรงจูงใจให้อาจารย์มีการใช้งานมากขึ้นDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-12-04
How to Cite
รักษาเกียรติศักดิ์ ส. (2009). การทำเหมืองข้อมูลของระบบการจัดการเรียนออนไลน์ : กรณีศึกษาของระบบ ATutor. Science Essence Journal, 25(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/847
Issue
Section
Research Article