การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของดอกลำไย 5 สายพันธุ์ในประเทศไทย Floral Morphology of Five Longan Cultivars (Dimocarpus longan Lour.) in Thailand

Authors

  • วัชรินทร์ จันทวรรณ์
  • ธีรนุช เจริญกิจ
  • พาวิน มะโนชัย
  • ยุวลี อันพาพรม

Keywords:

ดอกลำไย, ละอองเรณู, ปลายยอดเกสรเพศเมีย, longan flower, pollen, stigma

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของดอกลำไย 5 สายพันธุ์ คือ อีดอ โคฮาล่า เบี้ยวเขียว พวงทอง และสีชมพู ชักนำให้ออกดอกโดยสารโพแทสเซียมคลอเรตในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 พบว่า หลังราดสาร  ลำไยมีระยะเวลาในการแทงช่อดอกเฉลี่ย 49 - 63.8 วัน และมีระยะเวลาในการบานของดอกเฉลี่ย 26 – 36.5 วัน จากการศึกษาพบว่าในดอกลำไย 1 ช่อประกอบด้วยดอก 3 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ สัดส่วนเพศดอกแตกต่างกันคือ โคฮาล่าเท่ากับ 9.4:1 เบี้ยวเขียวเท่ากับ 7.4:1 พวงทองเท่ากับ 5.5:1 และอีดอ 6.6:1 ส่วนสีชมพูมีสัดส่วนเพศดอกน้อยสุดเท่ากับ 2.7:1  ลำไยทั้ง 5 พันธุ์มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนเท่ากันคือ 5 กลีบ โดยกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนน้ำตาล ส่วนกลีบดอกมีสีขาวขุ่น เรียงสลับกันอยู่บนฐานรองดอก  ขนาดดอกเพศผู้ของอีดอ โคฮาล่า เบี้ยวเขียว และพวงทองไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนสีชมพูมีขนาดดอกเล็กที่สุด  ก้านชูเกสรเพศผู้ของอีดอและโคฮาล่ามีความยาวมากที่สุด รองลงมาเป็นเบี้ยวเขียว ส่วนพวงทองและสีชมพูมีก้านชูเกสรเพศผู้สั้นที่สุด  ขนาดของดอกเพศเมียพันธุ์อีดอ     โคฮาล่า และเบี้ยวเขียวมีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนพวงทองและสีชมพูมีขนาดดอกเล็กที่สุด  ก้านชูเกสรเพศเมียพบว่าในอีดอและเบี้ยวเขียวมีความยาวที่สุด รองลงมาเป็นโคฮาล่า ส่วนพวงทองและสีชมพูสั้นที่สุด เมื่อพร้อมได้รับการผสมปลายยอดเกสรเพศเมียของโคฮาล่ามีการแยกกว้างที่สุด รองลงมาคือเบี้ยวเขียว ส่วนอีดอ พวงทองและสีชมพูมีการแยกของปลายยอดเกสรเพศเมียน้อยที่สุด  ส่วนดอกสมบูรณ์เพศพบในโคฮาล่าเท่านั้นมีเพียง 0.2% ของจำนวนดอกทั้งหมด  นอกจากนี้การเปิดของปลายยอดเกสรเพศเมีย และขนาดดอกน่าจะมีผลต่อการติดผลของลำไยที่ชักนำให้ออกดอกในฤดูหนาว คำสำคัญ : ดอกลำไย ละอองเรณู ปลายยอดเกสรเพศเมีย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

จันทวรรณ์ ว., เจริญกิจ ธ., มะโนชัย พ., & อันพาพรม ย. (2016). การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของดอกลำไย 5 สายพันธุ์ในประเทศไทย Floral Morphology of Five Longan Cultivars (Dimocarpus longan Lour.) in Thailand. Science Essence Journal, 32(1), 131–142. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/7592