การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4Development of Chemistry Co-Curricular Activity Packages on Mole for Tenth Grade Students Through SSCS Model
Keywords:
ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ วิธีการสอนแบบ SSCS ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน an Activity Package, SSCS Model, Learning achievementAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ Search Solve Create Share (SSCS) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.51/81.11 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนเรื่องโมล โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้ พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ วิธีการสอนแบบ SSCS ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนABSTRACT The objectives of this research were: 1) to develop and evaluate effectiveness of Chemistry co-curricular activity packages on Mole through Search Solve Create Share (SSCS) model with an efficiency of 80/80. 2) to compare tenth grade students achievement between before and after learning through Chemistry co-curricular activity packages on Mole by SSCS Model and 3) to study the satisfaction of the students through co-curricular activity packages on Mole by SSCS Model. The samples consisted of 24 students of tenth grade students in Thungkalo Witthaya School, Uttaraditt province. They were selected by using cluster random sampling. The research instruments were five packages of co-curricular activity on Mole with SSCS Model, the achievement test of co-curricular activity packages on Mole comprising thirty items and students’ satisfaction questionnaire having fifteen items. The statistics used in this research were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent sample. The research findings were as follows: The developed learning activity package on Mole by SSCS model had the efficiency of 82.51/81.11. The achievement of tenth grade students on the topic of Mole by learning though the developed co-curricular activity packages was found that the score of post-test higher than pre-test at the significant level .01 and the satisfaction of students to the developed co-curricular activity packages on Mole by SSCS model was very high. keywords : an Activity Package, SSCS Model, Learning achievementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
จุลรังสี จ., & ทองพูน เ. (2015). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4Development of Chemistry Co-Curricular Activity Packages on Mole for Tenth Grade Students Through SSCS Model. Science Essence Journal, 31(2), 117–130. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/6928
Issue
Section
Research Article