การแยกแลบเฟจจากตัวอย่างแหนมในประเทศไทย
Keywords:
แลบเฟจ แบคทีเรียกรดแลคติค แหนม การแยกAbstract
จากการแยกแบคทีเรียกรดแลคติคและแลบเฟจจากตัวอย่างแหนมในประเทศไทยทั้งหมด 36 ตัวอย่าง สามารถแยกแบคทีเรียกรดแลคติคได้ทั้งหมด 41 ไอโซเลท เมื่อนำแบคทีเรียกรดแลคติคทั้งหมดมาแยกแลบเฟจพบว่าสามารถแยกแลบเฟจได้เพียง 1 ตัว คือ Φ 22 เมื่อทำการจัดจำแนกแบคทีเรียกรดแลคติค N 22 ที่ใช้เป็นโฮสท์ในการแยกเฟจดังกล่าว โดยใช้ชุด API 50 CHL และลำดับเบสของ 16S rDNA พบว่าจากการเปรียบเทียบลำดับเบสของ 16S rDNA กับฐานข้อมูล GenBank แสดงให้เห็นว่าโฮสท์ N 22 มีความคล้ายคลึงกับ Weissella cibaria ร้อยละ 99 สำหรับลักษณะทั่วไปของเฟจ Φ 22 พบว่า มีพลาคขนาดเล็กโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3 มิลลิเมตร และเมื่อศึกษารูปร่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าจัดอยู่ใน Family Podoviridae โดยมีส่วนหัวเป็นรูปหกเหลี่ยม ขนาด 86 นาโนเมตร และส่วนหางสั้นความยาว 27 นาโนเมตร เมื่อนำมาศึกษาสมบัติของแลบเฟจในการติดเชื้อกับแบคทีเรียกรดแลคติคสายพันธุ์อื่น และจีนัสอื่น พบว่าเฟจ Φ 22 ไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ Weissella สปีชีส์อื่นหรือแบคทีเรียกรดแลคติคต่างสปีชีส์ได้ และจากการศึกษากราฟการเจริญ พบว่ามี latent period และ burst size เท่ากับ110 นาที และ 55 phage particles/infected cell ตามลำดับ สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อกับโฮสท์ในช่วงค่าความเป็นกรดด่าง 5-8 และค่า D values ของ Φ 22 สามารถคำนวณได้เท่ากับ 60 วินาที ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และ 15 วินาที ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และปริมาณเฟจจะ ลดลงจนไม่สามารถตรวจสอบได้ ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ระยะเวลามากกว่า 60 วินาที หรือที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ระยะเวลามากกว่า 20 วินาที หรือที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ระยะเวลาน้อยกว่า 10 วินาที ซึ่งจากการศึกษาทั้งหมดพบว่าเป็นรายงานครั้งแรกที่ค้นพบแลบเฟจของ Weissella cibaria นอกจากนี้เฟจที่ได้มีลักษณะรูปร่างแตกต่างจากแลบเฟจของ Weissella และแลบเฟจส่วนใหญ่ของแบคทีเรียกรดแลคติคที่เคยมีรายงานมาก่อนDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-07-04
How to Cite
ภัทรสินไพบูลย์ ณ., พริ้งศุลกะ อ., สุวรรณาศรัย ณ., & รังษิรุจิ อ. (2009). การแยกแลบเฟจจากตัวอย่างแหนมในประเทศไทย. Science Essence Journal, 25(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/570
Issue
Section
Research Article