ผลของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณไฮโดรคาร์บอนในเซลล์ สาหร่าย Botryococcus sp. ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากกระบวนการแปรรูปอาหารทะเล Effect of CO2 Concentration on Growth and Hydrocarbon Content of Botryococcus sp. from Culture using Seafood

Authors

  • ชมพูนุท ชัยรัตนะ Department of Aquaculture Technology, Faculty Science and Technology , Suratthani Rajabhat University

Keywords:

Botryococcus sp. คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน CO2, hydrocarbon

Abstract

การศึกษาการใช้น้ำทิ้งจากกระบวนการแปรรูปเนื้อหอยลายสดที่ไม่ผ่านการบำบัด นำมาเลี้ยงสาหร่าย Botryococcus sp. ที่เก็บมาจากอ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยใช้น้ำทิ้งความเข้มข้น 20  40  60  80 และ 100 %(v/v) และชุดควบคุมที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร BG 11 ผลการศึกษาพบว่า สาหร่ายสามารถเจริญเติบโตได้ใน น้ำทิ้งทุกความเข้มข้น เมื่อเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยให้แสงสว่าง 67.5 ไมโครโมล/ตารางเมตร/วินาที  ช่วงมืด:ช่วงสว่าง เท่ากับ 12:12 ชั่วโมง  และสาหร่ายมีการเจริญเติบโตสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ  (p≤0.01) เมื่อเลี้ยงในน้ำทิ้งความเข้มข้น 60 %(v/v) โดยมีน้ำหนักแห้งสูงสุดเท่ากับ 1.143±0.005 กรัม/ลิตร ส่วนสาหร่ายที่เลี้ยงในน้ำทิ้งไม่เจือจางและชุดควบคุมที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร BG 11 มีน้ำหนักแห้งเท่ากับ 0.664 กรัม/ลิตรการศึกษาผลของความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์  (ที่ความเข้มข้น 0(อากาศปกติ) 1  1.5  2  2.5 และ 5 %(v/v)) ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Botryococcus sp. ที่เลี้ยงในน้ำทิ้งความเข้มข้น 60 %(v/v) พบว่าสาหร่ายมีการเจริญเติบโตสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p≤0.01) เมื่อพ่นอากาศผสมคาร์บอนไดออกไซด์ 1 %(v/v) โดยพบน้ำหนักแห้งสูงสุดเท่ากับ  3.301±0.042  กรัม/ลิตร ซึ่งมากกว่าที่พ่นอากาศปกติ  2.91 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าการพ่นอากาศผสมคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อปริมาณไฮโดรคาร์บอนในสาหร่าย Botryococcus sp. โดยสาหร่ายที่เลี้ยงในน้ำทิ้งความเข้มข้น 60 %(v/v) พ่นอากาศผสมคาร์บอนไดออกไซด์ 1 %(v/v) มีปริมาณไฮโดรคาร์บอนสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p≤0.01) เท่ากับ  0.24±0.02  กรัม/กรัมน้ำหนักแห้งTo investigate the potential of using untreated seafood processing wastewater (SPWW) from short necked clam meat cleaning process for Botryococcus sp. (from the Reservoir in Suratthani Rajabhat University) production, growth of Botryococcus sp. in various SPWW concentration (20, 40, 60, 80 and 100 %(v/v)) and in BG 11 (control) were measured.  The result showed that Botryococcus sp. can grow in every SPWW concentration with 67.5 µmol/m2/s illumination (light:dark = 12:12) and the significantly maximum cell dried weight of 1.143±0.005 g/L was found with 60 %(v/v)  SPWW (p≤0.01), while the control and non diluted SPWW were produced similar cell dried weight of 0.664 g/L. The effect of CO2 concentration (0pure air, 1, 1.5, 2, 2.5 and 5 %(v/v)) on growth of  Botryococcus sp. in 60 %(v/v) SPWW was determined. The appropriate CO2 concentration for  Botryococcus sp. growth in this study was 1 %(v/v),  it was confirmed by maximum Botryococcus sp. production of 3.301±0.042 g/L (2.91 times of control) (p≤0.01).  In addition, CO2 aeration was affected on hydrocarbon content of Botryococcus sp.  The study indicated the highest hydrocarbon content of 0.24±0.02 g/g dry weight was found with Botryococcus sp. cultured in 60 %(v/v) SPWW with 1 %(v/v) CO2 aeration (p≤0.01). 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-12-24

How to Cite

ชัยรัตนะ ช. (2014). ผลของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณไฮโดรคาร์บอนในเซลล์ สาหร่าย Botryococcus sp. ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากกระบวนการแปรรูปอาหารทะเล Effect of CO2 Concentration on Growth and Hydrocarbon Content of Botryococcus sp. from Culture using Seafood. Science Essence Journal, 30(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/4880