ขนมเด็กกับฉลากโภชนาการ

Authors

  • สิริมนต์ สิริมนต์ ชายเกตุ Faculty of Science, Srinakharinwirot University

Keywords:

ขนม, ฉลากโภชนาการ

Abstract

ขนมเป็นอาหารที่รับประทานระหว่างอาหารมื้อหลัก (อาหารมื้อหลักได้แก่ มื้อเช้า กลางวัน และเย็น)  เด็กรับประทานขนมเนื่องจากความหิวและความอร่อยของขนม  ขนมส่วนใหญ่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำโดยเฉพาะมีปริมาณไขมัน เกลือ และความหวานมาก  หากเด็กบริโภคขนมที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ อาจนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานนี้จะนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เบาหวานชนิดที่ 2 โรคเกี่ยวกับ             เมตาบอลิก โรคข้อ เป็นต้น บทความวิชาการนี้ได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กไทย สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับฉลากโภชนาการที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ขนม ซึ่งได้มีการใช้สัญลักษณ์สีเขียว เหลือง และแดง เหมือนกับสัญญาณไฟจราจร บ่งบอกถึงปริมาณสารอาหารที่เกี่ยวข้องในระดับต่ำ ปานกลางและสูง ตามลำดับบนบรรจุภัณฑ์ขนม นอกจากนี้ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติได้กำหนดเกณฑ์การรับประทานขนมให้เด็กอีก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ไม่ควรบริโภคอาหารว่างเกินวันละ 2 มื้อ  2) อาหารว่างแต่ละมื้อให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน และ 3) อาหารว่างควรมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่น้อยกว่า 2 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม และวิตามินเอ เป็นต้น โดยแต่ละชนิดมีปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน นอกจากนี้พ่อแม่ควรสนับสนุนให้เด็กบริโภคผักและผลไม้สด และออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากการที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติและพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-03-04

How to Cite

สิริมนต์ ชายเกตุ ส. (2009). ขนมเด็กกับฉลากโภชนาการ. Science Essence Journal, 24(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/423

Issue

Section

บทความวิชาการ