การบริการบอกตำแหน่งด้วย LBS: Location-Based Service (LBS: Location-Based Service)

Authors

  • ศศิวิมล สุขพัฒน์ Faculty of Science, Srinakharinwirot University

Keywords:

การบริการบอกตำแหน่ง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลก Location-based service, Geographic Information Systems, Global Positioning System

Abstract

บทความนี้เป็นการนำเสนอภาพรวมของเทคโนโลยี LBS (Location-Based Service) หรือที่เรียกว่า "การบริการบอกตำแหน่ง" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้และเวลาที่อยู่ ผ่านเทคโนโลยีไร้สาย  LBS เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบันดังจะเห็นได้จากการนำ LBS ไปใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในสังคมออนไลน์ให้สะดวกยิ่งเช่นในแอพพลิเคชัน Foursquare Google Latitude  Facebook Place และ Gowalla เป็นต้น  LBS นั้นเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี GIS (Geographic Information Systems) หรือ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” ซึ่งก็คือระบบจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่โดยเป็นระบบสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในงานเฉพาะกิจ ต่อมาได้มีการนำระบบ GIS มาปรับปรุงให้ลดความซับซ้อนลงเพื่อรองรับกับการใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ต้องการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็กลายเป็นการให้บริการในรูปแบบ LBS ในที่สุด  ในการระบุตำแหน่งของผู้ใช้นั้น LBS จะอาศัยระบบ GPS (Global Positioning System) หรือ ”ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลก” ซึ่งทำการรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ทำการหาพิกัดที่อยู่ของผู้ใช้แล้วส่งข้อมูลที่ได้มายังเครื่องรับของผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็น โทรศัพท์เคลื่อนที่ PDA (Personal Digital Assistant) รวมทั้งอุปกรณ์พกพาอื่นๆ สำหรับรูปแบบการให้บริการนั้นนอกจากจะนำไปใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารในสังคมออนไลน์แล้ว  LBS ยังถูกนำไปใช้ในการให้บริการหลายหลายรูปแบบ เช่น การค้นหาข้อมูลร้านค้าและบริการ การบริการเรียกรถแท็กซี่ การท่องเที่ยวและการเดินทาง เป็นต้น แม้ว่า LBS จะเป็นระบบที่น่าสนใจและตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่การนำ LBS มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถใช้การปรับแต่ง การกำหนดค่าของการให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ การนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย ความรวดเร็วในการให้บริการ ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการ LBS จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเพื่อให้สามารถบรรลุถึงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดThis article presents the overview of LBS (Location-Based Service) technology which provides information services based on user's position and the time at that position. LBS has become a popular service in these recent years by applied in many social networking applications such as Foursquare, Google Latitude, Facebook Place and Gowalla. LBS is a technology which derived from GIS (Geographic Information Systems). The GIS is a system used by experts for managing and analyzing geographic data and information which related in spatial data position. Later, GIS was improved to be less complicated in order to serve the needs of general users who want to use this system in their ordinary life. Finally, this new service became to be the well-known technology which we call LBS. In order to indentify the user position, LBS uses GPS (Global Positioning System) which receives signals transmitted from GPS satellites to the user's GPS receiver such as mobile phone, PDA (Personal Digital Assistant) and other mobile devices. Besides, social networking services, LBS also used in many purposes such as finding shops and services information, taxi calling service, tourism and travel service and etc.  Although, LBS is an interesting technology which served the requirements of today people lifestyle, the success of using LBS is depend on many factors such as personalizable/preference setting, real-time/up-to-date information, usefulness/benefits, speed and etc. These factors are necessary for the LBS service providers to be concerned in order to accomplish the user’s needs. 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-12-29

How to Cite

สุขพัฒน์ ศ. (2012). การบริการบอกตำแหน่งด้วย LBS: Location-Based Service (LBS: Location-Based Service). Science Essence Journal, 28(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/2930