ผลกระทบของวัฒนธรรมต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรมนุษย์ (The Cultural Impact on the Genetic Structure of Human Population)
Keywords:
พันธุศาสตร์ประชากร, โครงสร้างทางพันธุกรรม, วัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์ population genetics, genetic structure, culture, ethnic groupAbstract
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มนุษย์แต่ละชาติพันธุ์มีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน การลดลงของความหลากหลายทางพันธุกรรมพบได้ในกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมการแต่งงานในหมู่เครือญาติ ในขณะที่การผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์จะทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงขึ้น วัฒนธรรมบางอย่างส่งผลต่อสมาชิกของประชากรเพศชายและหญิงอย่างไม่สมดุลกัน เช่น การย้ายถิ่นฐานหลังการแต่งงาน ซึ่งทำให้โครโมโซมวายและดีเอ็นเอไมโตคอนเดรียมีความหลากหลายที่ไม่เท่ากันในแต่ละประชากร ในบางกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประชากรในแง่ของวัฒนธรรมกับหลักฐานทางพันธุกรรมอาจให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน เช่นตัวอย่างที่พบในวัฒนธรรมการแบ่งชนชั้นแบบวรรณะในอินเดีย ที่พบว่าทุกวรรณะมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากเคยมีบรรพชนร่วมกันมาก่อน Cultural differences are one of the important factors which shape and maintain the genetic differences among human ethnic groups. Decline of genetic diversity has been observed in the consanguineous marriage population, while the ethnic admixture leads to the diversity increasing. Some culture show difference effect on male and female genetic structures, such as the post-marital residence which mirrors in an unequal Y chromosomal and mitochondrial DNA diversities. In some cases, the population relationships in cultural study and genetic evidence are inconsistence. The Indian caste, for example, is genetically similar among every ethnic group as they used to share common ancestor.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-12-29
How to Cite
คำปวนสาย จ. (2012). ผลกระทบของวัฒนธรรมต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรมนุษย์ (The Cultural Impact on the Genetic Structure of Human Population). Science Essence Journal, 28(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/2926
Issue
Section
บทความวิชาการ