การบริโภคผักและผลไม้ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(Vegetables and Fruits Consumption among Students at Srinakharinwirot University, Prasarnmit Campus)

Authors

  • สิริมนต์ ชายเกตุ Faculty of Science, Srinakharinwirot University
  • ตลับพร หาญรุ่งโรจน์

Keywords:

การบริโภค ผัก ผลไม้ นิสิต consumption, vegetables, fruits, students

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการบริโภคผักและผลไม้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผักและผลไม้ในนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบฟอร์มการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน   ใช้โปรแกรม INMUCAL ในการคำนวณสารอาหารจากอาหารที่รับประทาน  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผักและผลไม้โดยใช้สถิติไคสแควร์นิสิตส่วนใหญ่อายุ 20-21 ปี เมื่อใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย พบว่าส่วนใหญ่ ( ร้อยละ 52.7) มีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 26.1 มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (< 18.5 กิโลกรัม/เมตร2)  และ ร้อยละ 21.2  มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ปกติ ( > 23 กิโลกรัม/เมตร2) ตามลำดับ  นิสิตชายและหญิงได้รับพลังงานจากอาหารเฉลี่ย 1215.8 + 348.6 และ 977.2 + 369.5 กิโลแคลอรี่/วัน, ตามลำดับ การกระจายพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน มีค่า 51:18:31ผักที่บริโภคมากที่สุดได้แก่ผักบุ้ง (ร้อยละ 23.1) ผักคะน้า (ร้อยละ 21.4) และกะหล่ำปลี (ร้อยละ 12.9)   ผลไม้ที่บริโภคมากที่สุด ได้แก่ มะม่วงดิบ (ร้อยละ 19.4)  แอปเปิ้ล (ร้อยละ 17.2) และ ฝรั่ง (ร้อยละ 15.2) ตามลำดับ      ร้อยละ 42 ของนิสิต ไม่ทราบว่าควรบริโภคผัก 4-6 ทัพพี / วัน และผลไม้ 3-5 ส่วน / วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผักและผลไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ เงินเดือนที่นิสิตได้รับ   ภาวะสุขภาพ  และความชอบ กล่าวโดยสรุปควรให้ความสำคัญกับการให้โภชนศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเพื่อการมีสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดี This study was cross-sectional study.  The aim of this study was designed to determine vegetables and fruits consumption as well as study the factors associated with vegetables and fruits intake among 400 college students at Srinakharinwirot University, Prasarnmit campus.  Data were collected by using questionnaires and 24 hour dietary recall for 3 days.  INMUCAL program was used to evaluate nutrient intake.  Chi-square was used to analyze factors associated with vegetables and fruits intake.Most students aged 20-21 years old.  By using the body mass index; BMI criteria, most of them (52.7%) was normal nutritional status (18.5-22.9 kg/m2), 26.1% was underweight ( < 18.5 kg/m2) and 21.2% was overweight ( > 23 kg/m2), respectively.  The mean energy intake of food consumption in male and female were 1215.8 + 348.6 and 977.2 + 369.5 kcal / day. Energy distribution from carbohydrate, protein and fat  was 51 : 18 : 31.  The three top ranges of popularly consumed vegetables were Thai water convolvulus (23.1%), Chinese kale (21.4%) and cabbage (12.9%), and these for fruits were , raw mango (19.4%), apple (17.2%) and guava (15.2%).  However, it was found that 42.5% did not recognize they should consume vegetables 4-6 ladles / day and fruits 3-5 portions / day which were the recommendation of Ministry of Public Health.  Salary, health status and preferences were factors significantly associated with vegetables and fruits consumption (p<0.05). In conclusion, it is important to stress on the nutritional education about vegetables and fruits intake among the young adult to meet dietary recommendation, achieve health benefits as well as optimal nutritional status.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-12-29

How to Cite

ชายเกตุ ส., & หาญรุ่งโรจน์ ต. (2012). การบริโภคผักและผลไม้ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(Vegetables and Fruits Consumption among Students at Srinakharinwirot University, Prasarnmit Campus). Science Essence Journal, 28(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/2921