การศึกษาเบื้องต้นผลของสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างต่อการทำงานของเกล็ดเลือดในหลอดทดลอง

Authors

  • อนันญา นาวินประเสริฐ
  • อรพิณ วงศ์สวัสดิ์กุล
  • ศรีอัมพร หนูกลับ

Keywords:

บอระเพ็ดพุงช้าง, การทำงานของเกล็ดเลือด

Abstract

บอระเพ็ดพุงช้างเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน วัณโรค โลหิตจาง หอบหืด แต่ไม่มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต จึงทำการทดลองโดยใช้สารสกัดบอระเพ็ดพุงช้าง 1, 50, 150, 300 และ 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ศึกษาการทำงานของเกล็ดเลือดที่ได้จากพลาสมาของคนปกติ โดยใช้ ADP (adenosine 5' diphosphate) 20 ไมโครโมลาร์ เป็นสารกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งจะวัดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดเป็นเปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วมากที่สุด อัตราการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดเป็นเปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วต่อนาที และใช้ luciferase เป็นสารวัดการหลั่งของ ATP จากการศึกษาผลของสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างต่อการทำงานของเกล็ดเลือด พบว่าสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างที่ความเข้มข้น 50, 150, 300 และ 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จะทำให้เปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วมากที่สุด อัตราการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วต่อนาที และการหลั่งของ ATP ลดลง แสดงว่าสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างที่ความเข้มข้นดังกล่าวจะยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด อัตราการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดช้าลง และการหลั่งของ ATP ลดลง สำหรับสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จะลดอัตราการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วต่อนาที แต่ไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์แสงผ่านหลอดแก้วมากที่สุด และการหลั่ง ATP ดังนั้น สารสกัดบอระเพ็ดพุงช้าง 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จะทำให้อัตราการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดช้าลง ฉะนั้น สารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างอาจจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษากลไกการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด และการนำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

นาวินประเสริฐ อ., วงศ์สวัสดิ์กุล อ., & หนูกลับ ศ. (2008). การศึกษาเบื้องต้นผลของสารสกัดบอระเพ็ดพุงช้างต่อการทำงานของเกล็ดเลือดในหลอดทดลอง. Science Essence Journal, 22(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/26