การสังเคราะห์ตัวติดตามสำหรับตรวจหาโพลีฟอสเฟตแบคทีเรียในน้ำเสีย

Authors

  • อุรัจฉวี อุณหเลขกะ
  • ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์

Keywords:

โพลีฟอสเฟต, โพลีฟอสเฟตไคเนส, น้ำเสีย, โพลีฟอสเฟตแบคทีเรีย

Abstract

งานวิจัยนี้แยกเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างน้ำเสียที่เก็บจากโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา กรุงเทพมหานคร ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อน้ำเสีย พบว่าได้เชื้อแบคทีเรียทั้งหมด 143 สายพันธุ์ เมื่อย้อมสีแบคทีเรียด้วยอัลคาไลน์ลอฟเฟลอร์ส เมทิลีน บลู พบแบคทีเรียที่สามารถสะสมโพลีฟอสเฟตได้ 9 สายพันธุ์ จากการตรวจสอบความสามารถในการสะสมโพลีฟอสเฟตไว้ภายในเซลล์ พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียตัวอย่าง 3 สายพันธุ์ คือ CUW-1, CUW-3 และ CUW-8 ที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซับโพลีฟอสเฟตไว้ภายในเซลล์มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อจำแนกสกุล พบว่าน่าจะเป็นเชื้อ Propionibacterium sp., Corynebacterium sp. และ Renibacterium sp. ตามลำดับ โดยกิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์โพลีฟอสเฟตไคเนสของเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ในสภาวะที่มีการให้อากาศเป็น 0.393, 0.552 และ 0.256 หน่วยต่อมิลลิกรัมโปรตีน จากการออกแบบดีเอ็นเอไพร์เมอร์เพื่อใช้ในการเพิ่มปริมาณยีน ppk ด้วยวิธีพีซีอาร์ในเชื้อตัวอย่างทั้งสามชนิด พบว่าไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้ แต่สามารถตรวจพบการเพิ่มปริมาณยีนดังกล่าวในเชื้อ E. coli JM109 ซึ่งเป็นตัวควบคุมบวกโดยมีขนาดผลิตผล 650 เบสแพร์ และเมื่อติดฉลากผลผลิตแล้วใช้เป็นตัวติดตามตำแหน่งของยีน ppk ในเชื้อตัวอย่าง พบว่าปรากฏสัญญาณแสดงตำแหน่งในเชื้อตัวอย่างเพียง 2 สายพันธุ์ คือ CUW-1 และ CUW-3 โดยสัญญาณดังกล่าวมีขนาดประมาณ 3 กิโลเบสแพร์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-02-22

How to Cite

อุณหเลขกะ อ., & โฆษิตานนท์ ช. (2008). การสังเคราะห์ตัวติดตามสำหรับตรวจหาโพลีฟอสเฟตแบคทีเรียในน้ำเสีย. Science Essence Journal, 22(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/21